กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมแกนนำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน (รพ.สต.บ้านไม้ฝาด)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด

1.นางแวมีเนาะ มะรือสะ
2.นางสาวรัตนภรณ์ บือราเฮง

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายจิตใจเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและเสริมสร้างให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง การกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนปัญหาที่พบบ่อยในโรงเรียนคือปัญหาด้านทันตสุขภาพหิด เหา ในเด็กนักเรียน ปัญหาภาวะโภชนาการปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปีจากการตรวจสุขภาพนักเรียนปีการศึกษา 2563 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ - ๖ ในโรงเรียนบ้านไม้ฝาดโรงเรียนบ้านศาลาอูมา และโรงเรียนบ้านตอออ จำนวน 3แห่ง พบว่าเด็กนักเรียนมีฟันผุร้อยละ 40 พบเด็กมีเหา ร้อยละ 28 ปัญหาภาวะโภชนาการ ร้อยละ 7โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาดเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการฯนี้ขึ้น ในนักเรียนประถมศึกษา เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพทุกด้าน สามารถนำความรู้ที่มีไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียน และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพเด็กนักเรียนในช่วงเวลาเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำเด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพทุกด้าน

ร้อยละ 90 ของแกนนำนักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพทุกด้าน

1.00
2 เพื่อให้แกนนำเด็กนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียน

ร้อยละ 90 ของแกนนำนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียน และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพเด็กนักเรียนในช่วงเวลาเรียน

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 99
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรม -อบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียน โดยแบ่งเป็นแกนนำนักเรียนชั้นป. 3 –ป. 6 ชั้นเรียนละ 8 คน จำนวน 3 แห่ง โรงเรียนบ้านไม้ฝาดโรงเรียนบ้านตอออ โรงเรียนบ้านศาลาอูมาจำนวน 96 คน ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 3 คน รวมทั้งหมดจำนวน99คน
    ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. X 6ชม.=3,600 บ.
    ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. X 99 คน =4,950 บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ. 2 มื้อ x 99 คน =4,950 บ. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 99 คน x 40 บ.=3,960 บ. ค่าป้ายโครงการ= 1,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีสุขภาพดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18460.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,460.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนสามารถดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นแกนนำในด้านส่งเสริมสุขภาพทุกด้าน
2. เด็กนักเรียนมีสุขภาพดีทุกมิติ


>