กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ตำบลกายูคละ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ตำบลกายูคละ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

1.นางโซเฟีย ยามีตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร.0980157060
2.นางสาวสลาลี รอดเสน ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โทร. 0645623170

พื้นที่รับผิดชอบ ได้แก ม.4 บ้านบาโง ม.5 บ้านตาฮิบาเดาะ ม6 บ้านสามแยก ม.7 ฮูแตมาแจ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

 

8.73
2 ร้อยละของเด็ก 3 – 5 ปี มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

 

3.92
3 ร้อยละของเด็กมีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 20

 

39.25

จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ปี พ.ศ 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยกพบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ ๓.๖๓ , ๘.๗๓ ,๕.๔๕ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย ที่กำหนดไว้ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในกลุ่มเด็ก ๐-๕ ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

เด็ก 0-5 ปี ไม่มีภาวะทุพโภชนาาร

1.00
2 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความข้าใจ ด้านโภชนาการเด็ก แกผู้ปกครองและเด็ก

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลด้านโภชนาการเด็ก

1.00

เพื่อเผยแพร่ความรู้ความข้าใจ ด้านโภชนาการเด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 95
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในเขตพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในเขตพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตอาหาร
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการกำหนดเมนูอาหารเองได้ 1 ค่าอาหารกลางวันจำนวน 95 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน=4,750 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 95 คนจำนวน 2 มื้อๆละ 25บาทX 2มื้อ=4,750 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล1ผืนขนาด1.2 เมตร X 2.4 มตร เป็นเงิน =1,000 บาท 4. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 X6 ชั่วโมง เป็นเงิน = 3,600 บาท 5.ค่าสาธิตอาหาร = 5,000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และเยี่ยมติดตามชั่งน้ำหนักเด็กน้อยกว่าเกณฑ์ในชุมชน และเด็ก 0-5 ปี ในแต่ละชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และเยี่ยมติดตามชั่งน้ำหนักเด็กน้อยกว่าเกณฑ์ในชุมชน และเด็ก 0-5 ปี ในแต่ละชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าเยี่ยมอาหารเสริม(นมกล่อง)ขนาดกล่อง ๒๕๐ มล.×๒๕ คน ×๕๐ กล่อง ×๑๐ บาท เป็นเงิน ๑๒,๕๐๐บาท
๒.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักเด็กทารกแบบดิจิตัล ราคาเครื่องละ ๓,๐๐๐ บาท ×๒ เครื่อง เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามเยียมบ้าน ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อพัฒนาการที่สมวัย

ชื่อกิจกรรม
จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อพัฒนาการที่สมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุอุปกรณ์ ของเล่นเสริมพัฒนาการ ๕ รายการ รายการละ 1000 บาท 1.ชุดเครื่องมือตรวจพัฒนาการ 2.ชุดของเล่นเด็กตามวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.เด็ก ๐-๕ ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการอย่างคลอบคลุม
๒.เด็ก ๐-๕ ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
๓.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการในเด็ก ๐-๕ ปี
๔.เด็กมีภาวะทุพโภชนาการลดลง


>