กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำภูรา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำภูรา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพบว่าการป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด กำลังทวีความรุนแรง และเพิ่มอย่างรวดเร็ว ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการทั่วโลกที่สูงมาก องค์การอนามัยโลก(word Heath Organization ) ประมาณไว้ว่า การตาย การเจ็บป่วย และความพิการ ส่วนใหญ่ เป็นผลมาจากโรคไม่ติดต่อและเป็นสาเหตุการตายที่สูงมาก ดังรายงานในปี ค.ศ.2004 พบมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ ถึงร้อยละ 60และเป็นภาระโรค(Burden) จากโรคไม่ติดต่อถึงร้อยละ 43 จากภาระโรคระดับโลก และคาดการณ์ไว้ว่าปี พ.ศ.2563จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อทั้งหมดสูงถึงร้อยละ 73 ของการตายทั้งหมดและภาระโรคจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 สำหรับประเทศไทยนั้นก็ประสบกับปัญหาเช่นดียวกัน ดังที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ ในช่วง พ.ศ.2550-2560 นั้นพบว่า จำนวนและอัตราตายด้วยโรคหัวใจขาดเลือด มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวนและอัตราป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดพบว่า โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นจาก75.0 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2550 เป็น205.5 ต่อประชากรแสนคน ในปีพ.ศ. 2560 โรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น จาก 49.0 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.2550 เป็น 261.3ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2560 โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นจาก148.7 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2550 เป็น 650.4 9ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2560 ตลอดจนโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้น จาก 158.0 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2560 เป็น 778.1 ต่อประชากรแสนคน
ในภาวะสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน จากสังคมในชนบทมีแนวโน้มการปฏิบัติตัวแบบสังคมเมืองมากขึ้น เพราะผลพวงจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านคมนาคม การติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ การเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไปจากโรคติดต่อมากขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนตลอดจนภาวะเครียดต่างๆ จากการแข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจ พฤติกรรมเหล่านี้ได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน นำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคภัยหลายโรค ซึ่งโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการหรือความรุนแรงให้เห็น ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจหลอดเลือด โรคมะเร็ง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และอาจกลายเป็นภาระของญาติหรือครอบครัวที่ต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยมากขึ้นในปัจจุบัน ตามนโยบาย ปี 2564 ได้กำหนดตัวชี้วัดว้าว่าประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 1 ปี ร้อยละ 90 ในตำบลลำภูรามีประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1020 คนและนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ และได้ขยายขอบเขตการบริการส่งเสริมสุขภาพไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภท เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3 อ. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน เพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมเป้าหมายในพื้นที่และผลงานได้ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพจังหวัดตรัง
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อตำบลลำภูรา อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ปี 2560,2561,2562,พบ646.81,1710.41,1641.02 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ อัตราป่วยโรคเบาหวาน ปี 2560,2561,2562 พบ493.62,558.85,1371.29 ต่อประชากรแสนคน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โรคติดต่อเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการทันทีทันใด กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนยาบายให้บริการสาธารณสุขมีการคัดกรองเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในกลุ่มประชากร 30 ปีขึ้นไป เมื่อพบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคจะได้ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคและเมื่อพบผู้ป่วยก็ได้ส่งรับการรักษาตามเกณฑ์มาตรฐานต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังครอบคลุมและมีอุปกรณ์เพียงพอในการบริการในชุมชน

ร้อยละ ของประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลลำภูราได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลป้องกันโรค

ร้อยละกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลป้องกันโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการคัดกรองโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)

ชื่อกิจกรรม
โครงการคัดกรองโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำแบบคัดกรองโรคไม่ติดต่อ ค่าแบบคัดกรอง จำนวน 1,020 แผ่นๆละ 1บาท =  1,020 บาท
  2. ค่าวัสดุเครื่องตรวจน้ำตาลที่ปลายนิ้วจำนวน 10 เครื่องๆละ 2,000 = 20,000 บาท
  3. ค่าวัสดุแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 40 กล่องๆละ 428 บาท =  17,120  บาท
  4. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอลจำนวน 6 เครื่องๆละ 2,500 บาท =  15,000 บาท
  5. ค่าเข็มเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 4 กล่องๆละ 950 = 3,800 บาท
  6. ค่าถ่านใส่เครื่องตรวจน้ำตาลจำนวน 10 ชุดๆละ 50= 500 บาท
  7. ค่าถ่านใส่เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 10 ชุดๆละ 80 = 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง


>