กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด

หมู่ที่ 3หมู่ที่ 5หมู่ที่ 8ตำบลเขาย่าอำเภอศรีบรรพตจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

 

177.07

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับประเทศเนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตายการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจ วินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 - 9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ใน ทุกกลุ่มอายุ และโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด พบว่า มีอัตราป่วย ดังนี้ 176.37, 43.99, 131.81 , 87.49 และ177.07 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ
จากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด ระดมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องซึ่งปัญหาที่ผ่านมา ได้แก่
1. ประชาชนมักขาดความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมจนเกิดปัจจัยเอื้อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อันเป็นพาหะ (Vector) ในการแพร่กระจายโรค
2. ประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย ไม่ให้ความสำคัญในการกำจัดตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสม
3. ประชาชนขาดความตระหนักที่จะเฝ้าระวังโรค ไม่เห็นความสำคัญและไม่สร้างนิสัยในการที่จะกำจัดยุงลายและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง มักปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำหน้าที่ป้องกัน และควบคุมโรค
4. ทรัพยากร/ วัสดุอุปกรณ์ ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย และลูกน้ำยุงลายมีไม่เพียงพอ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564เพื่อควบคุมและลดปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้บ้าน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่ราชการทำการควบคุมป้องกันและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาชนทุกครัวเรือน นักเรียน ผู้นำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ร้อยละ80ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

50.00 70.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของครัวเรือน ได้รับวัสดุในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมในการป้องกันไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

30.00 40.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยของผู้ป่วยไข้เลือดออก ให้น้อยลง และควบคุมอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 131.81 ต่อแสนประชากร 2. อัตราป่วยตายโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 0.13 ต่อแสนประชากร

177.07 131.81

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมฟื้นฟูให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ ผู้นำชุมชนแกนนำชุมชน และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมฟื้นฟูให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ ผู้นำชุมชนแกนนำชุมชน และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมอบรมฟื้นฟูให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ ผู้นำชุมชนแกนนำชุมชน และ อสม.จำนวน50คน 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้จัด/ทีมวิทยากร/และผู้เข้ารับการอบรมชุมชน จำนวน50125 เป็นเงิน1,250บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 3*300 เป็นเงิน 900บาท
3. ป้ายไวนิล500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2021 ถึง 10 พฤษภาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ  80  ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2650.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย แจกวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย แจกวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย แจกวัสดุป้องกันโรคไข้เลือดออก ลงเยี่ยมบ้านให้ความรู้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน50*25เป็นเงิน1,250บาท 2. ค่าวัสดุในการป้องกันโรคไข้เลือดออก(ทรายอะเบท โลชั่นกันยุง สเปร์ยกำจัดยุง) เป็นเงิน9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2021 ถึง 11 มิถุนายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 90 ครัวเรือนได้รับความรู้และวัสดุในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน131.81ค่อแสนประชากร
2. เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และ สามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน


>