กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโดยยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2564 หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก

1. นางสาวอำภรณ์หวันยาวา
2. นางสาวมาลีหมาดวัง
3. นางเพ็ญศรี นกดำ
4. นางนพเก้า สหะแก้ว
5. นางดารณี มนูญดาหวี

หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

12.00

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข และเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้รณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดหนึ่งที่ประสบปัญหาโรคไข้เลือดออก เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอด จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออก พบว่า มีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมปี 2555 เป็น 30 - 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และบวกกับภาวะโลกร้อนนี้ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้เกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดการระบาดในหน้าฝนของทุก ๆ ปี จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562 พบว่า มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังต่อไปนี้ 6.89, 48.85, 501.77, 31.81, 243.50 และ 85.35 ตามลำดับ เมื่อสังเกตอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสตูล 5 ปีย้อนหลัง พบว่า เดิมลักษณะการระบาด จะเป็นแบบ ปี เว้นปี แต่ปัจจุบันระบาดในทุกปี
จากข้อมูลรายงานทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) อำเภอเมือง จังหวัดสตูล พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 เท่ากับ 348.57 ต่อแสนประชากร เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (ค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี เท่ากับ 84.58) พบว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.16 (ซึ่งตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ลดลง 20% จากค่ามัธยมฐานย้อนหลัง 5 ปี) และเมื่อเทียบกับอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2558-2562 มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังต่อไปนี้ 266.63, 481.67, 238.34, 1,260.24 และ 338.46 ตามลำดับ มีลักษณะการระบาด จะเป็นแบบปีเว้นปีจากสถานการณ์ดังกล่าวมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด จึงต้องการอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และอสม.ในการช่วยกันป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ เช่น การรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งทุกคนทำได้ นอกจากจะทำให้ปลอดภัยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะแล้ว ยังเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

12.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,428
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
  2. ประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    • แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    • ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกชุมชน
  4. แต่งตั้งคณะทำงาน อสม.และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน
  5. จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ตามสื่อการสอนที่เตรียมไว้ในข้อ 2 การค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ถูกวิธีแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมระหว่างเจ้าของบ้านและคณะทำงาน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต อสม.มีความรู้และมีแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกฯได้ 35 คน ผลลัพธ์ ประชาชนมีแนวทางการควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6410.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ควบคุมการระบาด และทำความสะอาดในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ควบคุมการระบาด และทำความสะอาดในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ควบคุมการระบาด และทำความสะอาดในชุมชน โดย อสม. เดือน ละ ๔ ครั้ง จำนวน 9 เดือน เพื่อตรวจประเมินบ้านจัดการขยะทุกเดือน และประชุมรายงานการจัดการขยะและสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ควบคุมการระบาด และทำความสะอาดในชุมชน โดย อสม. เดือน ละ ๔ ครั้ง จำนวน 9 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13896.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,306.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
ในโรงเรียน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกโรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย(CI=O) ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือน ให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐
(ค่า HI ไม่เกิน ๑๐)
ผลลัพธ์
๑. อัตราการเกิดโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะลดลง
๒.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค


>