กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม ห่วงใย ป้องกันประชาชนตำบลโคกชะงายห่างไกลจากโรควัณโรค ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านโคกชะงาย

1. นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
2. นางเพ็ญ ขาวมาก
3. นายชรินทร์ หนูเกื้อ
4. นางวรรณดี ช่วยมั่ง
5. นางสาวชนม์นิภา ธรรมเพชร

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ (ต่อ/ประชากรแสนคน)

 

135.04
2 จำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ป่วยจากการสัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยรายเก่า

 

1.00

ข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของโลก จากรายงานวัณโรคของโลกปี พ.ศ. 2560 (global tuberculosis report 2017) โดยองค์การอนามัยโลก คาดประมาณอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค (รายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) ของโลก สูงถึง 10.4 ล้านคน (140 ต่อแสนประชากร) มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง 1.7 ล้านคน ในปี 2557 และในปี 2558 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก มีภาระวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง โดยมีอัตราของวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 1.3 เท่า
มีผู้เสียชีวิตถึง 12,000 ราย ขณะที่มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนการรักษาเพียง 58,714 ราย หรือประมาณร้อยละ 50 อัตราการรักษาสำเร็จร้อยละ 78 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่นานาชาติกำหนด นอกจากนี้ จากการสำรวจทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าผู้ป่วยยังเข้าไม่ถึงหรือเข้าถึงการรักษาอย่างล่าช้า ยังไม่ได้สังเกตตัวเองกับอาการที่เข้าได้กับโรควัณโรคทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ส่งผลให้อัตราป่วยลดลงน้อยกว่าเกณฑ์
จากทะเบียนงานควบคุมโรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วย จำนวน 6 คน ปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วย จำนวน 4 คน ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรควัณโรค ปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 1 คนที่เป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคที่ป่วยเมื่อปีงบประมาณ 2560 จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเสี่ยงของโรควัณโรคมีทั้งหมด
7 กลุ่ม ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 400 คน ดังนั้น แก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกัน และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต้องดำเนินการระยะเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการ อสม ห่วงใย ป้องกันประชาชนตำบลโคกชะงายห่างไกลจากโรควัณโรค ปี 2564 ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก ควบคุมกลุ่มป่วย และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เพื่อควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง ป้องกันโรคล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรค และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบ และเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรค โดยบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรังโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน

อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน ร้อยละ 80

65.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100

95.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค 400

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนา อสม. เป็นแกนนำป้องกันโรควัณโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนา อสม. เป็นแกนนำป้องกันโรควัณโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 53 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,325 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการคัดกรอง 53 ชุด ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 530 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4195.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรควัณโรคในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สัมผัสร่วมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรควัณโรคในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สัมผัสร่วมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการคัดกรอง 400 ชุด ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งต่อผลการคัดกรองให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผลการคัดกรองให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ส่งต่อผู้ที่ผลการคัดกรองสงสัยป่วยวัณโรคไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ที่ผลการคัดกรองสงสัยป่วยวัณโรคไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายได้รับการส่งต่อทุกราย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,995.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน ร้อยละ 80
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100


>