กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสานสัมพันธ์บุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. นางสาวรัตนา กาญจนสิงห์
2. นางอุไร จันทร์แก้ว
3. นางประคิ่น จันทร์นุ่น
4. นางละเอียด สุวรรณชาตรี
5. นางสมจิตร ชูแก้ว

หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับหลาน

 

38.29
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่สังกัดชมรม

 

71.36

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือ ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับที่ 2 คือ ร้อยละ 16 รองจากประเทศสิงคโปร์ คือ ร้อยละ 18 อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 75 ปี และเมื่อสำรวจสุขภาพของประชาชน พบว่า ร้อยละ 75.5 สามารถดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 19 ต้องพึ่งพาผู้ดูแลบ้าง และร้อยละ 1.5 ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องพึ่งพิงผู้ดูแล (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2561) ปัญหาผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่มีปัจจัยมาจากสุขภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่บ้านและในชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆซึ่งทำให้ผู้สูงอายุ เกิดความน้อยใจ ความเครียดแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวและสังคม ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต จากนโยบายรัฐบาลให้มีการดูแลผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนต้องได้รับการดูแล
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 653 คน เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 466 คน คิดเป็นร้อยละ 71.36 จากการดำเนินงานผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเนื่องจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ และภาวะทางจิตใจ ที่เป็นห่วงลูกหลานทำงานต่างจังหวัด บางคนไปทำงานนอกบ้าน ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านและดูแลหลานหรือเด็กเล็กตามลำพัง ร้อยละ 38.29ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวลดน้อยลง ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญของลูกหลานและประชาชนในตำบลโคกชะงาย เป็นผู้ที่มีความสามารถได้แสดงความสามารถของตัวเองให้ลูกหลานได้สืบต่อ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสานสัมพันธ์บุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ ปี 2564 ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้นและได้ทำกิจกรรมร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ในวัยเดียวกันและต่างวัยได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หลานและผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

หลานและผู้สูงอายุทุกคนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ร้อยละ 100

38.29 100.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น

ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 70

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้สูงอายุและลูกหลาน 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สานสัมพันธ์รัก

ชื่อกิจกรรม
สานสัมพันธ์รัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าวิทยากร(กลุ่ม 4 กลุ่ม)จำนวน 8 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ป้ายไวนิล ขนาด 2 x 2.5 เมตร ตรม.ละ 180 บาทจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • หลานและผู้สูงอายุทุกคนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและประเมินสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและประเมินสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินสุขภาพจิต เป็นเงิน 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 70 และส่งต่อรายที่ผลการประเมินผิดปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- หลานและผู้สูงอายุทุกคนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ร้อยละ 100
- ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 70 และส่งต่อรายที่ผลการประเมินผิดปกติ


>