กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขาภิบาลอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสุขาภิบาลอาหารขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง และประกอบอาหารได้ถูกต้อง

จำนวนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านมาตรฐาน  ร้อยละ ๙๐

0.00 0.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร

 

0.00
3 ประชาชนมีความรู้ ในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 25 คน มีค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่จำนวน 30 คนจำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็น 750 บาท - ค่าเอกสารให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม เป็นเงิน 200 บาท - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 600 บาท - ค่าตอบแทนวิยากร เป็ยเงิน 1,800 บาท
รวมเป็นเงิน 3,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดซื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI-2)เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าจัดซื้ออุปกรณ์เช่น กล่องพลาสติก กรรไกร ตะแกรง แอลกอฮอล์ ตะเกียง ถุงมือ ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าจัดทำป้าย Clean Food Good Tasteเป็นเงิน4,000 บาท รวมเป็นเงิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร
2.ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย
3. ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารภายในเขตเทศบาลตำบลตะโหมดสามารถยกระดับมาตรฐาน Clean Food Good Taste


>