กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “ผู้สูงอายุ รวมใจใส่ใจช่องปาก” ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

1.นางโนรีฮาเจ๊ะมะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางซอลีฮะห์ ปาตินักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3.นางรอฮีมะห์ บีรูพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางสาวฮานีซะห์ สาวนิ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
5.นางสาวอามีเนาะ สะมะแอเจ๊ะมะ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากพบว่ามีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิต ตั้งแต่เรื่องการเคี้ยว การกัดการกลืน การพูด การยิ้ม การหัวเราะ ซึ่งเป็นเรื่องของการทำงานด้านกายภาพของช่องปาก นอกจากนี้ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ โดยกองทันตสาธารณสุข พบว่า การสูญเสียฟันเป็นปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีฟัน พบฟันผุที่รากฟันร้อยละ 20 เป็นโรคปริทันต์ร้อยละ 62 ทำให้มีโอกาสสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พบว่าการสูญเสียฟันมีผลต่อการเคี้ยวอาหาร การเลือกชนิดของอาหาร ซึ่งส่งผลถึงระดับโภชนาการ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาจากการเคี้ยวอาหารมีโอกาสเกิดสภาวะที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (underweight) เป็น 3 เท่า ของผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาจากการเคี้ยวอาหาร และจำนวนฟันที่เหลืออยู่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเคี้ยวอาหาร การเลือกชนิดของอาหารที่รับประทาน ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสขาดสารอาหารบางประเภท ส่งผลต่อสภาวะโภชนาการได้ นอกจากนี้การสูญเสียฟันยังมีผลต่อภาพลักษณ์ ความมั่นใจ ความสวยงาม ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกอาย ไม่อยากยิ้ม เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจ ความเจ็บปวดหรือความไม่สบายเนื่องจากฟัน เช่น ปวดฟัน เสียวฟัน มีผลต่อการพักผ่อนการนอนหลับ และมีผลต่อการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติ รวมทั้งมีผลต่อการเข้าสังคม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุ รวมใจใส่ใจช่องปาก ขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุให้อยู่ในสภาพที่ดีลดภาวะโรคแทรกซ้อน ลดความเจ็บปวด และลดความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตนเองได้

ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80

1.00 1.00
2 เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดมาจากโรคในช่องปากของผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมจนท.และคณะกรรมการการดำเนินงาน 2.จัดทำแผนปฏิบัติการ  3.เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.สากอ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 15 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินการโครงการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินงานกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินงานตามกิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.จัดทำสื่อการสอนและจัดหาเอกสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในโครงการนี้ให้เพียงพอ 3.จัดอบรมผู้สูงอายุ จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน รวมทั้งหมด 80 คน -ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ เกี่ยวกับทันตสุขภาพ -ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ -สาธิตการทำความสะอาดช่องปากแก่ผู้สูงอายุ โดยแนะนำวิธีการใช้แปรงสีฟัน และไหมขัดฟันแบบสำเร็จรูป

รายละเอียดงบประมาณมีดังนี้ 1.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 900 บาท 2.อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม มื้อละ 25 บาทx 2 มื้อ xจำนวน 40 คน x 2 วันเป็นเงิน 4,000 บาท 3.อาหารกลางวันผู้เข้าอบรมมื้อละ 50บาท x 1 มื้อ x จำนวน 40 คน x 2 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท 4.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท x จำนวน 2 ท่าน x 2 ท่าน เป็นเงิน 7,200 บาท 5.วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 5.1 ชุดแปรงสีฟันพร้อมยาสีฟันผู้ใหญ่ 80 ชุด x 50 บาท เป็นเงิน 4,000บาท
5.2 ถุงผ้า ผืนละ 25 บาท x 80 ชุดเป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 22,100 บาท (สองหมื่นสองพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตัวเองได้ถูกต้องและเหมาะสม
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22100.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และส่งกลับข้อมูลให้กองทุนฯ ดำเนินการต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตัวเองได้ถูกต้องและเหมาะสม
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรม


>