กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี วิถีอิสลาม/สุขภาพดีวิถีพุทธ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

ชมรม อสม.ตำบลบ้านนอก

1. นางองุ่นยอดนวล
2. นางขินแดงเพ็ง
3. นางสาวยาวาเยาะเต๊ะ
4. นางจิวารีย์หมัดหมะ
5. นางสาวรอมือล๊ะกาเจร์

ห้องประชุมโรงพยาลาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอกพื้นที่ในตำบลบ้านนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การดูแลสุขภาพและการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในยุคปัจจุบันนั้น ความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนากับสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งที่มีการกล่าวถึงอยู่ไม่น้อย ดังเช่นศาสนาอิสลาม หากย้อนกลับไปพิจารณาวิถีของอิสลาม ซึ่งเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และครอบคลุมทุกๆ ด้าน (The way of life) เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยนั้น อิสลามได้พูดถึงอย่างละเอียดทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่หัวใจ และจิตใจของมนุษย์จนครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสุขภาพกับศาสนพิธี หรือ“อิบาดะอ์” เช่น การละหมาด การถือศีลอด การอาบน้ำละหมาด การออกกำลังกาย โภชนาการ การพักผ่อน การป้องกัน การรักษา การปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามจึงเป็นการปฏิบัติดีเกี่ยวกับสุขภาพไปพร้อมกันด้วยบทบัญญัติอิสลามกำหนดหลักการทางด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังด้วยหลัก อาหารต้องฮาลาลและตอยยีบันคือมีคุณค่า มีประโยชน์ ครอบคลุมถึงอาหารทุกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย เน้นความสำคัญของ นม น้ำผึ้ง เนื้อ ผลไม้ และผักต่างๆ ให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดของอาหาร ไม่รับประทานอย่างฟุ่มเฟือย เป็นต้น ด้านการออกกำลังกาย อิสลามถือว่าการมีร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดีเป็นความโปรดปรานจากอัลลอฮ การรักษาความแข็งแรงและสุขภาพร่างกาย การป้องกันและบำบัดโรค ของชาวมุสลิมจึงถือเป็นหน้าที่ทางศาสนาด้วยเช่นกัน สุขภาพในศาสนพิธี ของอิสลามนั้น เป็นทั้งกฎเกณฑ์เพื่อฝึกควบคุมร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตไปพร้อมๆ กัน ในการละหมาด มุสลิมทุกคนจะทำการละหมาดภาคบังคับวันละห้าเวลา ความสะอาดถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการละหมาดแต่ละครั้ง คือต้องสะอาดทั้งสถานที่ เสื้อผ้าที่ใช้ รวมทั้งต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดด้วยการอาบน้ำหรืออาบน้ำละหมาด ในการถือศีลอด ทุกๆ ปีมุสลิมจะถือศีลอดหนึ่งเดือน คือเดือนรอมฎอน เพื่อฝึกร่างกายให้อดทน และจากงานวิจัยต่างๆทั่วโลกมีผลการยืนยันชัดเจนว่าการถือศีลอดอย่างถูกวิธี ช่วยให้มีสุขภาพดี จะเห็นได้ว่าศาสนาอิสลามให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมในยุคปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ, ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม, ความเครียด, การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ฯลฯ นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงและการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้ ในพื้นที่ตำบลบ้านนอกก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันยังมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่มาโดยตลอด จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกและในเพิ่มขึ้น รวมถึงภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ได้มีความพยายามในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยคาดหวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลการสำรวจสถานะสุขภาพของตำบลบ้านนอกปี 2563พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 392 คน จากจำนวนประชากร 4,307 คิดเป็นร้อยละ 9.1ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 203คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 โรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 34 โรคหลอดเลือดสมองจำนวน 22 คนผู้ป่วยติดบ้านจำนวน 48 คน ติดเตียงจำนวน19 คน อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 256๓ จำนวน 36 คิดเป็นร้อยละ0.80 และอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 53รายคิดเป็นร้อยละ 1.25 จากผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,853 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 174คน คิดเป็นร้อยละ 9.39 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 8.14 สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง บริโภคอาหารตามกระแสนิยม นิยมการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม ทานผักผลไม้น้อย และการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับ ครอบครัวชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิด และใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ จากข้อมูลดังกล่าว ชมรม อสม.ตำบลบ้านนอกได้ตระหนักถึงปัญหาและเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี วิถีอิสลาม/วิถีพุทธ ใช้หลักศาสนามาบูรณาการในการดูแลสุขภาพ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นประชาชนวัยทำงานได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพและได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อสม.เกิดความรู้ความตระหนักด้านการสร้างสุขภาวะสุขภาพดีห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้หลักศาสนาในการส่งเสริมสุขภาพวิถีอิสลาม/วิถีพุทธ 2. อสม.และประชาชน35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ จำแนกกลุ่มสถานะสุขภาพโดยใช้ปิงปอง7สีได้ และให้คำแนะนำเบื้องต้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

มีความรู้ เกิดความตระหนักในการสร้างสุขภาวะ สุขภาพดีด้วยหลักการศาสนา
อสม.และประชาชนให้ความร่วมมือดี เข้าร่วมโครงการครบตามเป้าหมาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,000
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม อบรมอสม.แกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อระดมความคิดเห็น รูปแบบการดำเนินกิจกรรมในชุมชน วางแผนการดำเนินงาน และให้ความรู้การคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพวิธีอิสลาม / วิถีพุทธ ให้ ชมรมอสม.ตำบลบ้านนอก 2 กิจกรรม คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม อบรมอสม.แกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อระดมความคิดเห็น รูปแบบการดำเนินกิจกรรมในชุมชน วางแผนการดำเนินงาน และให้ความรู้การคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพวิธีอิสลาม / วิถีพุทธ ให้ ชมรมอสม.ตำบลบ้านนอก 2 กิจกรรม คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร.ชั่วโมงละ500บ.x3ชั่วโมง x 2คน =   3,000      บ. ค่าอาหารกลางวัน...50..บ.x...54คน =     2,700 บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25บ.x2มื้อx...54คน =     2,700 บ.
ไวนิลโครงการ 1,000 บาท   รวม 9,400 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30บาทx..1,000คน =     30,000 บ. เครื่องเจาะเบาหวาน 6 เครื่อง 10,000 บาท ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง  -แผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด9,000 บ. -ถุงมือ 500บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพอสม.ในเรื่องโรคเรื้อรังสามารถใช้เครื่องมือในการคัดกรองได้ถูกต้อง สามารถคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงได้
2.อสม.สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นหลังคัดกรองความเสี่ยง และการปรับพฤติกรรมสุขภาพเบื้องต้น มีความรู้เกี่ยวกับหลักการอิสลามในการสร้างสุขภาพ สุขภาพดีวิถีอิสลาม/สุขภาพดีวิถีพุทธมีความรู้และทักษะในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน ให้ องค์กร อสม.พัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพดี ลดเสี่ยง ลดโรคอย่างยั่งยืน ชุมชนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น


>