กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

กลุ่มอสม.ตำบลเชิงแส

1. นางนฤตย์วรรณดวงภักดี
2. นางสมพิศ ด้วงสิน
3. นางวรรณดี เงินแดง
4. นางน้ำฝน มอกมา
5. นางสาวพาณี คงจันทร์

โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป พบได้ถึงร้อยละ 50 อัตราความชุกของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุในประเทศไทย พบปัญหาปวดข้อเข่าเสื่อมเป็นอันดับ 1 ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดข้อ ปวดตึงกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่า บางครั้งมีอาการบวมแดงร่วมด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากการใช้เข่ามาก อาจใช้นานกว่าปกติ หรือผิดท่า ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆ ทำได้ไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จากผลการสำรวจสุขภาวะของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลาในปี2563จากการคัดกรองผู้สูงอายุทั้งหมด 602 คน มีผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมจำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมไทย โดยใช้วิธีการทางแพทย์แผนไทย นั้นคือ การใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาทำเป็นยาพอกเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าดีขึ้น ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน ดังนั้นทางผู้เสนอโครงการ จึงได้จัดทำโครงการข้อเข่าดีหนีข้อเข่าเสื่อมด้วยยาสมุนไพรพอกเข่า เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรมากขึ้น กระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าดีขึ้น

ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีระดับความเจ็บปวดข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าดีขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรมากขึ้น กระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรมากขึ้น

0.00

1.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีระดับความเจ็บปวดข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าดีขึ้น
2.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรมากขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 130
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 : การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและยาสมุนไพรพอกเข่า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 : การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและยาสมุนไพรพอกเข่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและยาสมุนไพรพอกเข่า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 : การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 : การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 : การพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 : การพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รายละเอียดกิจกกรม : การพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร 1.1 นำยาสมุนไพรที่เตรียมไว้ พอกลงบริเวณเข่าข้างที่มีอาการปวด ทิ้งไว้ 20 นาที 1.2 เมื่อยาสมุนไพรแห้ง ใช้ฝ่ามือตบบริเวณที่พอกยาแล้วใช้ฝ่ามือลูบตัวยาออก 1.3 ทำท่ากายบริหาร โดยกระดกปลายเท้าขึ้นลง 50 ครั้งและกอดเข่าชิดอก 10 ครั้ง

  2. งบประมาณ 2.1 ค่าสมุนไพร ดังนี้ 2.1.1 ไพลผง 3 กก. x 210 บาท เป็นเงิน 630 บาท 2.1.2 ผักเสี้ยนผีผง 3 กก. x 240 บาท เป็นเงิน 720 บาท 2.1.3. ฟ้าทะลายโจรผง 1 กก. x 400 บาท เป็นเงิน 400 บาท 2.1.4. ขิงผง 2 กก. x 440 บาท เป็นเงิน 880 บาท 2.2 ค่า Alcohol 70% 10 ขวด x 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2.3 ค่าอุปกรณ์ปรุงยาและบรรจุยา เป็นเงิน 500 บาท 2.4 ค่าวิทยากร 3 คน x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.5 ค่าอาหารว่าง 130 คน x 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท 2.6 ค่าเอกสารให้ความรู้130 คน x 1 บาท เป็นเงิน 130 บาท 2.7 ค่าไวนิล 1 แผ่น x 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 10,110 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งร้อยสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าที่ดีขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10110.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในด้านการดูแลข้อเข่าดีขึ้น ส่งผลให้ระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง รวมทั้งกระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น


>