กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการควบคุมโรคติดต่อในตำบลวังใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดเทพา

1.นางบุญประสม นิลกาฬ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่
2.นางคอลีเยาะ มามุ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
3.นางสาวสิริเพ็ญ อัคคะเมธีตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุชขำนาญการ
4.นางรอกีเย๊าะ ยูโซะตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5.นางจุไรรัตน์ ยะโสธะโร ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งได้สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 8 ธันวาคม พ.ศ.๒๕63 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๖8,408 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 103.18 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน50 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07จังหวัดสงขลามีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 14 ธันวาคม พ.ศ.๒๕63 จำนวน 1,233 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 87.58 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.08 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 37 ของประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2563 ซึ่งอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปี ๒๕63 อำเภอเทพาอยู่ในอันดับที่ ๓ มีอัตราป่วย 161.52 ต่อแสนประชากร ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2563 อำเภอเทพามีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 17 ธันวาคม พ.ศ.๒๕63 จำนวน 128 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 164.0 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ตำบลวังใหญ่เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงฤดูฝน รายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกตำบลวังใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 17 ธันวาคม พ.ศ.๒๕63 จำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 190.57 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2563
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา ได้เล็งเห็นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของชุมชน อสม. ครู นักเรียนในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบทั้ง 3 โรงเรียน ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้เห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ชุมชน ครู นักเรียน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

1.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 90

1.00
3 จัดตั้งศูนย์ควบคุมโรคประจำตำบล 1 ศูนย์

มีศูนย์ควบคุมโรคระดับตำบลที่มีประสิทธิภาพ

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน 139
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การใช้โปรแกรมออนไลน์ในการจัดทำรายงานผลการปฎิบัติงานด้านควบคุมโรค  จำนวน 139 คน แบ่งเป็น 4 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่1 วันที่  11 ก.พ.64 อสม.ม.1,4 จำนวน 30 คน รุ่นที่ 2 วันที่ 12 ก.พ.64 อสม.ม.3,8 จำนวน 31 คน รุ่นที่ 3 วันที่ 15 ก.พ.64 อสม.ม.5,7 จำนวน 35 คน รุ่นที่ 4 วันที่ 16 ก.พ.64 อสม.ม.2,6 จำนวน 43 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ในการจัดทำรายงานผลการปฎิบัติงานด้านควบคุมโรคได้ถูกต้อง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10675.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นแก่ยุวอสม.(นักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 3 แห่ง) จำนวน 150 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 17 ก.พ.64 จำนวน 50 คน รุ่นที่ 2 วันที่ 18 ก.พ.64 จำนวน 50 คน
รุ่นที่ 3 วันที่ 19 ก.พ.64 จำนวน 50 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมฟื้นความรู้แก่ทีมพ่นหมอกควัน จำนวน 8 คน ในเรื่องการพ่นหมอกควันที่มีประสิทธิภาพ การบำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควัน สาธิตและฝึกปฎิบัติ
2.ประชุมวางแผนทีมควบคุมโรคก่อนและหลังลงพื้นที่ควบคุมโรคในชุมชน จำนวน 15 ครั้ง 3.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการควบคุมโรคให้เพียงพอในกรณีเกิดโรคระบาดในชุมชน เช่นโลชั่นทากันยุง สเปรย์ฉีดฆ่ายุงแก่แบบกระป๋อง(ทรายอะเบท สนับสนุนจาก อบต.วงัใหญ่) 4.ประชุมทีมควบคุมโรคตำบลวังใหญ่(EOCตำบลวังใหญ่) ปีละ 2 ครั้ง (ทีมควบคุมโรคตำบลวังใหญ่ ประกอบด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 8 คน อบต.วังใหญ่ 3 คน ประธาน อสม.ตำบลวังใหญ่ ประธาน อสม.แต่ละหมู่บ้าน จำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่ จาก รพ.สต.วังใหญ่ 3คน ตัวแทนครู 3 คน  รวม 26 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
65750.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินและสรุปผลการดำเนิน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและสรุปผลการดำเนิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมสรุปผลการดำเนินควบคุมโรคประจำปีทบทวนการควบคุมโรค ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข โดยทีมควบคุมโรคตำบลวังใหญ่ 2.สรุปโครงการเสนอต่อประธานกองทุนและผู้เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีศูนย์ควบคุมโรคระดับตำบลที่มีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 87,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
2.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.มีศูนย์ควบคุมโรคระบาดประจำตำบลที่มีประสิทธิภาพ


>