กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์สุขภาพกับปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

โรงเรียนบ้านวังตง

นายสุดเขต จันต๊ะ
นายพิชัย มองเหีย
นายวันชัย แซะหมูด
นางมุดตรีก๊ะ กูลหลัง
นายธวัตร มานะกล้า

โรงเรียนบ้านวังตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนด การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ พืชผักเป็นอาหารที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้รับประทานกันมาก เนื่องจากมัคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมที่บริโภคผักนั้นมักละเลือกผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผัก ต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปบริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาก เมื่อผู้ซื่อนำมาบริโภค แล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างที่อยู่ในพืชผักนั้นได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของคนเรา จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านวังตงเห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3- มัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำกิจกรรมปลูกผักไร้ดินปลอดสารพิษภายในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ ขั้นตอน กระบวนการ วิธีการดำเนินงานในการปลูกผักที่ปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นอาหารที่เด็กนักเรียนภาคภูมิใจเพราะเป็นผักที่ตนเองและเพื่อนๆ ช่วยกันปลูก รดน้ำและพรวนดินจนเจริญเติบโตให้เราได้รับประทาน ทำให้เด็กได้รู้จักความรับผิดชอบของตนเอง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นการฝึกฝนให้เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสิ่งสำคัญคือนักเรียนรู้รักษ์สุขภาพของตนเองเพื่อความสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทางโรงเรียนจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้มากเป็นพิเศษจึงเกิดความคิดในการจัดทำโครงการ รักษ์สุขภาพกับผักปลอดสารพิษ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการสุขภาพแข็ง

นักเรียนบริโภคผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพของนักเรียน

1.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกบริโภคอาหารและวิธีการประกอบอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนรู้จักแนวทางในการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อเป็นอาหาร

 

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปต่อยอดประกอบอาชีพในอนาคต

เป็นอาหารและต่อยอดประกอบอาชีพในนาคต

0.00
5 เพื่อให้นักเรียนเกิดความรักษ์สุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

นักเรียนเกิดองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการปลูกผักปลอดสารพิษ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมการ นำเสนอ โครงการ ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
เตรียมการ นำเสนอ โครงการ ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมการ 2.นำเสนอโครงการ 3.ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.ข้นดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนร้อยละ 80 บริโภคผักปลอดสารพิษ มีประโยชน์สุขภาพแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2x2.4 เมตรเป็นเงิน 500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน 3,000.- บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 20.- บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน2,000.- บาท -ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียนประกอบการอบรม ชุดละ 20.- บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 1,000.- บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600.- บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600.- บาท -วัสดุทำแปลงผัก เช่น อิฐ ปูน ทราย ฯลฯ จำนวน 12 แปลงๆละ 600.- บาท เป็นเงิน 7,200.- บาท -ดินพร้อมปลูก จำนวน 100 กระสอบๆละ 35.- บาท เป็นเงิน 3,500.- บาท -ดินปรับพื้นที่แปลงผัก 1 คิวๆละ 1,000.- บาท -เมล็ดพันธ์ุผัก จำนวน 12 ชุดๆละ 100.- บาท เป็นเงิน 1,200.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนร้อยละ 80 บริโภคอาหารที่ปลอดภัย
นักเรียนร้อยละ 80 รู้จักแนวทางในการปลูกผักปลอดสารพิษและต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนบริโภคผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพของนักเรียน
2.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
3.นักเรียนรักษ์ตระหนักถึงความสำคัญในสุขภาพของตนเอง
4.นักเรียนเกิดองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเป็นอาหารและต่อยอดประกอบอาชีพในอนาคต


>