กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู

1 นางสาวนุรรัยมีย์ แยบคาย ผู้ประสานงานคนที่ 1
2 นางสาวขัยรีหย๊ะ ชะยานัย ผู้ประสานงานคนที่ 2
3 นางสาวจุฑาทิพย์ รอเกตุ
4 นางสาวทิราภรณ์ ทองรักษา
5 นายสันติชัย เข่งเงิน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงในปี พ.ศ. 2559 - 2563 พบฟันผุร้อยละ 75.18,72.6,69.2,53.04และ62.05 ตามลำดับ การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็ก 3 ขวบ ปี พ.ศ.2563 มีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 6.3 ซี่ต่อคน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีจำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน เด็กจำนวนเด็กที่ได้ตรวจ 48 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 35 คน ฟันผุ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 62.86 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 58 คน ฟันผุ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 63.79 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 48 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 20 คน ฟันผุ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูง และพบว่าเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุดฟัน ทำให้มีฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก

SMART หรือ Simplified Modified Atrumatic Restoration Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี มีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณสูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมามีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ. 2006 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสารเคลือบหลุมร่องฟันและใช้ในการทำ SMART พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการเกิดฟันผุอยู่ในช่วง ร้อยละ 0-4 (อัตราการคงอยู่ละฟันไม่ผุเพิ่ม ร้อยละ 96) ส่วนเครื่องมือที่นำไปใช้ในการทำ SMART เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟัน ประโยชน์ของการทำ SMART ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เจ็บปวดน้อย ลดการผุลุกลามสามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้ ได้แนะนำให้เลือกใช้ในกิจกรรมโปรแกรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนได้ดี

ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECNIQUE ปีที่4 ขึ้นเพื่อควบคุมโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และยังเป็นการดูแลรักษาอนามัยในช่องปากให้กับเด็กต่อไปได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
80.00
2 เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนม ในเด็กอายุ 3-5 ปี
  1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไป อย่างน้อยร้อยละ 50
50.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปี ที่ฟันผุได้รับการอุดฟัน
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีฟันผุได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟัน
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 121
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 152

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กในศพด.

  2. ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กในศพด.

เป้าหมาย

ศพด.บ้านควนไสน

  • ผู้ปกครองรายใหม่ จำนวน35 คน

  • ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน4คน

  • ผู้สังเกตการณ์จำนวน2คน

ศพด.บ้านท่าแลหลา

  • ผู้ปกครองรายใหม่ จำนวน 28 คน

  • ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 4 คน

  • ผู้สังเกตการณ์จำนวน 2 คน

ศพด.บ้านป่าฝาง

  • ผู้ปกครองจำนวน22 คน

  • ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 5คน

  • ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 2คน

ศพด.บ้านปากปิง

  • ผู้ปกครอง จำนวน31 คน

  • ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 4คน

  • ผู้สังเกตการณ์จำนวน 2คน

ศพด.บ้านปิใหญ่

  • ผู้ปกครอง จำนวน 6 คน

  • ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน

  • ผู้สังเกตการณ์จำนวน 2 คน

ศพด.บ้านตูแตหรำ

  • ผู้ปกครอง จำนวน9คน

  • ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน2คน

  • ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 2 คน

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากร(ไม่ขอเบิก)

-ค่าแบบทดสอบความรู้ในการเข้าอบรม จำนวน 152 x 1 ชุด x 2 บาทเป็นเงิน 304 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน 30 x 152 คน = 4,560 บาท

รวมเป็นเงิน 5,539 บาท

ศพด.บ้านควนไสน

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์65 บาท x 41 คน x 1 มื้อ = 2,665 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์25 บาท x 41 คน x 2 มื้อ = 2,050 บาท

รวมเป็นเงิน 4,715 บาท

ศพด.บ้านท่าแลหลา

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์65 บาท x 34 คน x 1 มื้อ = 2,210 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์25 บาท x 34 คน x 2 มื้อ = 1,700 บาท

รวมเป็นเงิน 3,910 บาท

ศพด.บ้านป่าฝาง

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์65 บาท x 29 คน x 1 มื้อ = 1,885 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 29 คน x 2 มื้อ = 1,450 บาท

รวมเป็นเงิน 3,335 บาท

ศพด.บ้านปากปิง

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 37 คน x 1 มื้อ = 2,405 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 37 คน x 2 มื้อ = 1,850 บาท

รวมเป็นเงิน 4,255 บาท

ศพด.บ้านปิใหญ่

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 10 คน x 1 มื้อ = 650 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 10 คน x 2 มื้อ = 500 บาท

รวมเป็นเงิน 1,150 บาท

ศพด.บ้านตูแตหรำ

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์65 บาท x 13 คน x 1 มื้อ = 845 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์25 บาท x 13 คน x 2 มื้อ = 650 บาท

รวมเป็นเงิน 1,495 บาท

รวมเป็นเงินทั้งหมด 24,399 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24399.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. นักเรียนใน ศพด. ทั้ง 5 แห่ง ได้รับการตรวจฟันจากทันตบุคลากร

  2. คัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีฟันกรามน้ำนมผุเพื่อทำการอุด ART

เป้าหมาย

  • เด็กใน ศพด. จำนวน 279 คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

ชื่อกิจกรรม
ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ทาง รพ.ประสานงานครูเพื่อลงไปดำเนินการอุดฟันให้นักเรียน

  2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ออกหน่วย

  3. ครูผู้ดูแลเด็กนัดผู้ปกครองเด็กเพื่อนำเด็กมาตามรายชื่อมาอุดฟันในวันและเวลาที่นัดหมาย

  4. ให้บริการอุดฟันกรามน้ำนมด้วย SMART technique แก่เด็กเล็กใน ศพด.

เป้าหมาย

  • เด็กใน ศพด. จำนวน 121 คน

งบประมาณ

วัสดุทางทันตกรรม แยกเป็น

  1. วัสดุอุด GIFujiIX capsule x 5 กล่องx 3,600 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท

  2. ถุงมือ จำนวน 10 กล่อง x 210 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

  3. ค่าวัสดุอุดทันตกรรมอื่นๆ เป็นเงิน 2,000 บาท

  4. ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน 12 วัน x 4 คน x 420 บาทเป็นเงิน 20,160 บาท

รวมเป็นเงิน 42,260บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีฟันผุได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟัน

  • ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไปแล้ว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42260.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ทันตบุคลากรจะเข้าไปติดตามอาการภายหลังการอุดฟันด้วย SMART technique ของเด็กเล็ก ในศพด. โดยจะสุ่มตรวจ ร้อยละ 10 ของนักเรียนที่ได้รับการรักษา

  2. ทันตบุคลากรจะเข้าไปสุ่มตรวจร้อยละ 10 การยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว

เป้าหมาย

  • เด็กใน ศพด. จำนวน 121 คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทันตบุคลากรจะเข้าไปติดตามอาการภายหลังการอุดฟันด้วย SMART technique ของเด็กเล็ก ในศพด. และเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,659.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
2. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไปแล้ว
3. เด็กอายุ 3-5 ปีได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟันมากขึ้น


>