กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด19/COVID-19) กรณีโรคระบาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3

1. นางสมฤทัย ล้อมเมือง
2. นางเสาวคน บรรจงช่วย
3. นางยุพดี ปักธงชัย
4. นางอารี สีสุข
5. นางสุกัญญา โภคา

เขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคโควิด 19 (Covid-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโครซาร์สมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้ออย่างชัดเจนได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ซื้อขายอยู่และปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วยดังนั้น เราควรดูแลตัวเองเพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากเชื้อโรคโครานา ประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง หน้าที่ 1 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2563 พบผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 121 ราย รักษาหายและแพทย์ ให้กลับบ้าน จำนวน 4,152 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต จำนวน 60 รายและผู้ป่วยสะสม จำนวน 6,141 ราย เทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังมีประชากร จำนวน 4,970 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 1,416 ครัวเรือน และคาดว่ามีประชากรแฝงประมาณ 1,000 คนในเขตพื้นที่ โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มักเดินทางไปกลับต่างจังหวัดจำนวนหนึ่ง อันเป็นผลให้การเกิดโรคระบาดดังกล่าวได้ ซึ่งวิธีการรับมือในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ หรือหากมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที
ผู้ว่าฯ ตรัง เน้นย้ำมาตรการโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด จากกรณีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครในช่วงที่ผ่านมานั้น ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ชุดใหญ่ ได้ประชุมในวันนี้โดยสรุปมาตรการการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของ โควิด-19 โดยแบ่งพื้นที่สถานการณ์ออกเป็น 4 เขต คือ
1. พื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) เป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและมีมากกว่า 1 พื้นที่ (ย่อย)
2. พื้นที่ควบคุม (พื้นที่สีส้ม) เป็นพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเกินกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
3. พื้นที่เฝ้าระวังสูง (พื้นที่สีเหลือง) คือ พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย และมีแนวโน้มสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
4. พื้นที่เฝ้าระวัง (พื้นที่สีเขียว) คือ พื้นที่ที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อและยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีผู้ติดเชื้อ
ในส่วนของจังหวัดตรังอยู่ในกลุ่มพื้นที่สีเขียว หรือ พื้นที่เฝ้าระวัง โดยต้องกำหนดให้มีการตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง และกิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 คือ สวมหน้ากากอนามัย 100% เน้นทำความสะอาดมือ สถานที่หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก และการติดตั้งและสแกน Application ไทยชนะอยู่เสมอเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัย และการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลท่างิ้วชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3จึงขอดำเนินการโครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีโรคระบาดขึ้น โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์หน้ากากอนามัยและจัดซื้อแอลกอฮอล์เจลล้างมือแจกจ่ายให้แก่กลุ่มเสี่ยง เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019(COVID-2019) ในพื้นที่ตำบลท่างิ้ว

ประชาชน กลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยง มีหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจลสำหรับใช้ในการป้องกันควบคุมโรค

1.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชน กลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยง มีหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจลสำหรับใช้ในการป้องกันควบคุมโรค

1.00
3 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

1.00
4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง

ประชาชน กลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยง มีหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจลสำหรับใช้ในการป้องกันควบคุมโรค

1.00
5 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เจลแอลกอฮอล์ ชนิดขวด ขนาดไม่ต่ำกว่า 60 ml จำนวน 100 ขวดๆ ละ x 20.- บาท  เป็นเงิน 2,000.- บาท
  • ชุดทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ  จำนวน 2 ชุด ๆละ 1,920 บาท เป็นเงิน 3,820 บาท
  • ขวดพร้อมสกรีน ( 500 ml ) ขวดละ 45 จำนวน 60 ขวด เป็นเงิน 2,700 บาท
  • หน้ากากอนามัย 3 ชั้น กล่องละ 50 ชิ้น ราคา 125 บาท/กล่อง 15 กล่อง เป็นเงิน 1,875 บาท
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.2 ลิตร จำนวน 5 ขวด ๆละ 850 บาท  เป็นเงิน  4,250 บาท
    เป็นเงิน  14,645  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หน้ากากอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14645.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 * 3 ตร.ม. จำนวน 5 แผ่น ๆ ละ 450 บาท* เป็นเงิน  2,250  บาท
  • ค่าเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ จำนวน 500 ฉบับ ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    รวมเป็นเงิน  3,250  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างแกนนำเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เครื่องวัดอุณหภูมิผิวกายดิจิตอล ด้วยคลื่นอินฟาเรด (ชนิดมือถือ) จำนวน 2 อัน ๆ ละ 4,000.- บาท เป็นเงิน 8,000.-บาท
  • ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ชั่วโมงละ 50 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง/คน  จำนวน  60 คน  เป็นเงิน  9,000  บาท
    เป็นเงิน  17,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,895.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมป้องกันโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -2019) ในพื้นที่ตำบลท่างิ้วได้
2.เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>