กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว รหัส กปท. L3346

อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาตัวแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
นางสาวอาภาพร สมประสงค์ (นวก.สาธารณสุข ปก.) สำนักปลัดทต.บ้านพร้าว
กลุ่มคน
เทศบาลตำบลบ้านพร้าว
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส “เด็งกี่”(Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นโรคที่กำเนิดขึ้นและมีรายงานมาประปรายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 แต่เกิดระบาดใหญ่เป็นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปีพ.ศ. 2497 ในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาเรื้อรังของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ร้อนชื้น และจำนวนผู้ป่วยยังคงเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเป็นระยะทุก 3 - 5 ปี (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. 2544) โรคไข้เลือดออกเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501 ในกรุงเทพมหานครและระบาดเพิ่มขึ้นทั่วพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้สูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงสูญเสียในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการความร่วมมือกันจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่กำหนดไว้ในนโยบายระดับชาติ และกำหนดให้เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน (แผนยุทธศาสตร์โรคติดต่อนำโดยแมลงระดับชาติ. 2555 - 2559) จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพัทลุง พบว่า มีการศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ผลการศึกษาคือ รูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จากการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง 2) การออกกฎเกณฑ์ของชุมชน 3) การมีผู้นำที่เข้มแข็ง 4) การประชาสัมพันธ์ 5) การสนับสนุนจากองค์รภาคีเครือข่าย และ 6) ชุมชนมีความตระหนัก โดยรูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่ได้จะเป็นกลไกกำกับความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้ และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข ต้องมีบทบาทที่สำคัญโดยเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน และสนับสนุนด้านข้อมูล องค์ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง (มาธุพร พลพงษ์ , ซอฟียะห์ นิมะและ ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย.2560) ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์ปัญหาของโรคไข้เลือดออก รวมถึงแผน การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ชุมชนสร้างขึ้นไม่สอดคล้องกับปัญหาอย่างแท้จริง และขาดทักษะในการติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (จีระศักดิ์ ทัพผาและดิเรกดิษฐเจริญ.2556) รูปแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้เกิด ประชาชน ผู้นำชุมชน อสม. และ สอบต. ให้ความร่วมมือ โดยการเสริมสร้างพลังอำนาจหลังจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ขั้นตอนการมีส่วนร่วม และความตระหนักสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลง (สุวัฒน์ เรกระโทก. 2553) จุดด้อยของรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลักในประเทศไทย ได้แก่ บางโมเดลยังมองไม่ชัดว่าใครมีส่วนร่วมในกระบวนการใดหรือชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ หรือมีการประกาศใช้รูปแบบโดยไม่มีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน บางโมเดลยังไม่มีการติดตั้งโปรแกรมดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลาย และการพัฒนารูปแบบดั้งเดิมไม่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่มีการติดตั้งโปรแกรมผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ นอกจากนั้น ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มีความทวีความรุนแรงมากกว่าทุกปี รวมถึงยังมีความซับซ้อนและความยุ่งยากในการจัดการปัญหา โรคไข้เลือดออกจึงเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาที่สำคัญในระดับท้องถิ่น ดังนั้น การจัดการปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าวรวมถึงการสาธารณสุข จึงต้องพิจารณารูปแบบที่สอดคล้อง เหมาะสม และเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน (วสุธร ตันวัฒนกุล. 2549) การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านไสกล้วย โดยบูรณาการจากโมเดลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ใช้ในประเทศไทยร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม และบริบทของชุมชนบ้านไสกล้วย ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( action research) รวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่ทันสมัยผ่านโทรศัพท์มือถือในการรายงานดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้ชุมชนบ้านไสกล้วยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง เกิดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเหมาะสม สะดวก ทันสมัยและมีความยั่งยืน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อพัฒนาตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีความเหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
    ตัวชี้วัด : เกิดตัวแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีความเหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าวอย่างน้อย 1 ตัวแบบ
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 100.00
  • 2. 2.ค่าดัชนีชีวัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง
    ตัวชี้วัด : ค่าดัชนีชีวัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 20.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1.สำรวจและประเมินสิ่งแวดล้อมในชุมชนก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินดำเนินโครงการ(3ครั้ง)
    รายละเอียด

    1.สำรวจและประเมินสิ่งแวดล้อมในชุมชนก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินดำเนินโครงการ(3ครั้ง) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน20 คนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท 1500 - ค่าวัสดุ 1000 รวมเงิน2500.-

    งบประมาณ 2,500.00 บาท
  • 2. 2.จัดประชุมเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
    รายละเอียด

    2.จัดประชุมเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน33 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท = 825 - ค่าวัสดุ=500 รวมเงิน 1325.-

    งบประมาณ 1,325.00 บาท
  • 3. 3.กำหนดมาตรการชุมชนและพัฒนาระบบติดตามลูกน้ำยุงลาย
    รายละเอียด

    3.กำหนดมาตรการชุมชนและพัฒนาระบบติดตามลูกน้ำยุงลาย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน33 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท = 825 รวมเงิน825.-

    งบประมาณ 825.00 บาท
  • 4. 4.การพัฒนาจุดด้อยของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (ด้านความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วม)
    รายละเอียด

    4.การพัฒนาจุดด้อยของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (ด้านความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วม) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน150 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท=7500 - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท= 7500 - ค่าวิทยากร 5 ซม.ๆละ 300 บาท =1500 - ค่าวัสดุ = 1500 - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1*3 @150.-. =450 รวมเงิน 18450.-

    งบประมาณ 18,450.00 บาท
  • 5. 5.การติดตั้งและใช้ระบบติดตามดัชนีลูกน้ำยุงลายบนโทรศัพท์มือถือ
    รายละเอียด

    5.การติดตั้งและใช้ระบบติดตามดัชนีลูกน้ำยุงลายบนโทรศัพท์มือถือ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน150 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท  =3750

    -ค่าวิทยากร 3 ซม.ๆละ 300 บาท = 900

    งบประมาณ 4,650.00 บาท
  • 6. -การประชาสัมพันธ์ผ่านรูปแบบต่างๆ และการคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    รายละเอียด

    -การประชาสัมพันธ์ผ่านรูปแบบต่างๆ และการคืนข้อมูลสู่ชุมชน -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ในโครงการฯในรูปแบบต่างๆ จำนวน 5 ป้าย @450.- (1*3เมตร)= 2250 รวมเงิน 2250.-

    งบประมาณ 2,250.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 7 บ้านใสกล้วยตำบลบ้านพร้าวอำเภอ ป่าพะยอมจังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 30,000.00 บาท

หมายเหตุ : *** งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ***

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.เกิดตัวแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีความเหมาะสมกับชุมชนในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านพร้าวอย่างน้อย 1 ตัวแบบ 1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว รหัส กปท. L3346

อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว รหัส กปท. L3346

อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 30,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................