กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

สำนักงานเลขากองทุน

ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล และกระทรวงสาธารณสุขในการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยมีเทศบาล / องค์การบริหารส่วนตำบล เข้าร่วมโครงการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้และมติคณะกรรมการ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นหรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ ผ่านกลไกการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ในรูปแบบคณะกรรมการบริหารกองทุน
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และให้การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างเรียบร้อยในการประชุมปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหลา ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕64 เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ การรับรองและพิธีการค่าฝึกอบรมและค่าพิธีการต่างๆ จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นมาจ่ายเป็น ค่าตอบแทนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการในการประชุม จ่ายเป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ ตัวแทนชุมชนได้รับการพัฒนาความรู้เพื่อให้ดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์กองทุน

ทุกโครงการที่เสนอเป็นไปตามวัตถุประสงค์กองทุน

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 22

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษาอย่างน้อย 4 ครั้ง / ปี 2. ประชุมคณะอนุกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) อย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี 3.ประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบลและ ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ 4.สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน 5.รายงานผ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษาอย่างน้อย 4 ครั้ง / ปี 2. ประชุมคณะอนุกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) อย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี 3.ประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบลและ ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ 4.สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน 5.รายงานผ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1  กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุน

      - ค่าใช้จ่ายในการซื้อครุภัณฑ์ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับกองทุนฯ                      เป็นเงิน 3,000   บาท       - ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล ๒๐ คน x 400บาทx๔ ครั้ง                      เป็นเงิน ๓๒,๐๐๐  บาท       - ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล  ๒ คน  x 300 บาท x ๔ ครั้ง               เป็นเงิน   ๒,๔๐๐   บาท
      - ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง                                     ๑0 คน x ๓00บาท x 3 ครั้ง                                                                                          เป็นเงิน  9,000    บาท
     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในวันประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุน ๓5 บาทx 2๒ คนx ๔ ครั้ง เป็นเงิน ๓,๐8๐   บาท       - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในวันประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง      ๓5 บาทx ๑๐ คนx ๓ ครั้ง เป็นเงิน 1,0๕๐  บาท กิจกรรมที่2 กิจกรรมประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบลและ ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ -ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้  1คนx3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                                                     เป็นเงิน ๑,๘00  บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ๓5 บาท x 50 คน x ๑ ครั้ง                            เป็นเงิน ๑,๗๕0  บาท                 -ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย                                     เป็นเงิน  ๓๗๔    บาท         -ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เอกสารประกอบการอบรม 50 ชุดๆละ50 บาท                        เป็นเงิน 2,400  บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  จำนวน ๕6,๙๕๔.-บาท  (ห้าหมื่นหกพันเก้าร้อยห้าสิบสี่บาท)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56954.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,954.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการประชุมกรรมการ เพื่อพิจารณาและติดตามงานอย่างน้อย 4 ครั้ง /ปี
2. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
3.โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาการบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.มีแผนการทำงาน การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานโครงการ
5.มีการติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน


>