กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร ผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษระดับตำบล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

สภาองค์กรชุมชนตำบลนาทอน

1.นายบรรชาชูสังข์
2.นางสุวรรณารัตนบุญโณ
3.นางสาวอรพินหมาดอี
4.นางสุนีทองยิ้ม
5.นางยุพินเสียมไหม

ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“ผัก” มีความสำคัญ เป็นทั้งอาหารและยาสามัญประจำบ้าน เมล็ดพันธุ์ผักหนึ่งเมล็ด มีค่าเทียบเท่ากับหนึ่งชีวิต เมื่อประชาชนได้รับเมล็ดพันธุ์ผัก ตามโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษระดับตำบลจากทางสภาองค์กรชุมชนตำบลนาทอน ซึ่งมีจุดประสงค์ส่งต่อความปรารถนาดีไปสู่ประชาชนในตำบลนาทอนนั้น จะช่วยให้ผู้รับมองเห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์มากขึ้น ซึ่งสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการปลูกผักสวนครัวข้างบ้าน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เนื่องจากปัจจุบันนี้ผักที่วางขายตามท้องตลาดนั้นล้วนแล้วแต่มีสารปนเปื้อนซึ่งเกิดจากเกษตรกรจำนวนไม่น้อยได้นำวัตถุมีพิษ(สารเคมี)มาใช้เพื่อเร่งปริมาณผลผลิตเพื่อให้ได้จำนวนมากบางครั้งเกษตรกรใช้สารเคมีเกินคำแนะนำและเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายก่อนระยะเวลาที่กำหนดผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้บริโภคซึ่งไม่ได้เห็นพฤติกรรมดังกล่าวจึงทำให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมของประเทศ เช่น มีสารเคมีตกค้างในร่างกายมนุษย์ ทำให้เกิดความผิดปกติภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทอย่างร้ายแรงร่างกายอ่อนแอ และทรุดโทรม อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
เดิมส่วนใหญ่คนในตำบลนาทอนมีรายได้หลักมาจากสวนยางพารา มีสวนผลไม้และเลี้ยงสัตว์เล็กน้อย จากการสำรวจพบว่าเกษตรกรทั้งตำบลใช้สารเคมีในการทำเกษตรทั้งสิ้น ทำให้มีต้นทุนสูงและอาจส่งผลต่อสุขภาพตามมา ทางสภาองค์กรชุมชนตำบลนาทอน ที่ได้มีการทดลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเองพิสูจน์ด้วยตนเองพบว่าปุ๋ยที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพไม่ต่างจากปุ๋ยเคมีแต่มีต้นทุนต่ำกว่าหลายเท่าตัว จึงอาสาช่วยรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้เองมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการทำเกษตรและไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร และยังใช้พื้นที่ของสภาองค์กรชุมชนตำบลนาทอนจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้คนในตำบลได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ นำความรู้ที่ได้กลับไปใช้อีกด้วย
ดังนั้นการปลูกฝังให้ประชาชนในตำบลนาทอนรู้จักหลีกเลี่ยงการบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมีโดยการปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือนโดยไร้สารเคมีนั้นและการปลูกค่านิยมในการบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ จะทำให้ประชาชนในตำบลนาทอนเป็นเกษตรกรที่ดี เป็นผู้ที่ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีต่อผู้บริโภคหรือเป็นผู้บริโภคที่ดี โดยรู้จักสังเกตการเลือกรับประทานผักที่ปลอดสารพิษยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนในตำบลนาทอนรู้จักหลีกเลี่ยงการบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมี

ประชาชนในตำบลนาทอนมีความรู้ ความเข้าใจ และ ตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมี

0.00
2 เพื่อปลูกฝังค่านิยมในการปลูกผักและบริโภคผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีการปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคเอง

0.00
3 เพื่อให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการซื้อผักลดลง

0.00
4 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีและส่งผลให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีลดลงกว่าเดิม

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ลดลงและหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน

0.00
5 เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช/ศัตรูพืช

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช/ศัตรูพืช

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและการทำสารไล่แมลงทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์และวิธีนำไปใช้ให้ได้ผล

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและการทำสารไล่แมลงทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์และวิธีนำไปใช้ให้ได้ผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 2 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 300บ. = 1,200 บ.
  • ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 20 บ.จำนวน 50 คน =2,000 บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บ.x 50 คน = 3,000 บ.
  • ค่าวัสดุสำหรับทำสารไล่แมลง =2,100 บ.
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ =500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมการทำปุ๋ยอินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ พด.2

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการทำปุ๋ยอินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ พด.2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 3 ชม.ๆละ 300บ. =   900   บ.
  • ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆละ 20 บ.จำนวน 50 คน =  1,000 บ. -ค่าวัสดุสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ พด.2 =3,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในตำบลมีความมั่นคงทางด้านอาหาร พร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ
2. ประชาชนรู้จักหลีกเลี่ยงการบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมี
3. ประชาชนในตำบลนาทอนมีค่านิยมในการปลูกผักและบริโภคผักปลอดสารพิษ
4. เกิดการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนตำบลนาทอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


>