กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ พลังชุมชน ลดพุง ลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง

-

ม. 1 , 3 , 4 และ 5 ตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการเกินหรือ โรคอ้วน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน โรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกิน หรืออ้วน ได้แก่ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้เป็นต้น โรคอ้วนลงพุงเป็นฆาตกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุง จะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีเส้นรอบเอวของเพศชายเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร ซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น จึงจัดทำโครงการลดพุงลดโรคเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในตำบลสะพานไม้แก่นมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคภาวะโภชนาการเกิน(โรคอ้วน)
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
ลดจำนวนประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคภาวะโภชนาการเกิน(โรคอ้วน)
2. ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ลดลง ร้อยละ 10

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล เรื่องโรคความดันและเบาหวาน โดยมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 53 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน 3,710บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 53 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 2,650บาท รวมเป็นเงิน 6,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องโรคความดันและเบาหวานอย่างต่้อเนื่อง จำนวน อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6360.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน เบาหวาน และหลอดเลือดอุดตัน แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงฯ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน เบาหวาน และหลอดเลือดอุดตัน แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน เบาหวาน และหลอดเลือดอุดตัน แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงฯ จำนวน 100 คน เป็นเวลา 3 วัน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน คนละ 6 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน21,000บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 3 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 15,000บาท - ค่าไวนิลโครงการฯเป็นเงิน 750 บาท - ค่าวิทยากรการอบรมฯ จำนวน 3 วัน วันละ3 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท รวมเป็นเงิน 47,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน เบาหวาน และหลอดเลือดอุดตัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,910.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนนอกเหนือจากกลุ่มอาสาสมัครได้รับการกระตุ้นและเกิดกระแสให้มีการออกกำลังกาย
2. เกิดแกนนำในการดูแลสุขภาพ
3. เกิดชมรมแอดรบิคอย่างยั่งยืน


>