กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564 หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด

1. นางกันยารัตน์จิตนาธรรมประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด
2. นางเสาวลักษณ์ บัวเพ็ชร สมาชิก
3. นางวนิดา จาแคล่วคล่อง สมาชิก
4. นายกลวัชร บัวเพ็ชร สมาชิก
5. นางนัยนา จงใจ สมาชิก

หมู่ที่ 4 ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

40.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 2,377 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 4,318 คน แยกเป็นชาย 2,018 คน หญิง 2,237 คน (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เดือนมีนาคม 2563) และพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด จำนวน 3 ราย โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชนและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อย ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น ชมรมอสม.หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2564 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

40.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,318
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม.เพื่อวางแผนการดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม.เพื่อวางแผนการดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ และชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก    - แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ    - ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ประชุม อสม.เพื่อวางแผนการดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก ชุมชนละ 1 วัน จำนวน 6 ชุมชน คือ ชุมชนตลาดตั้งจิตต์ศีล, ชุมชนเอื้ออาทร, ชุมชนวัดมงคลมิ่งเมือง, ชุมชนเขตพื้นที่, ชุมชนปลายชล, ชุมชนโคกพะยอมร่วมใจ
  4. ประชุมสรุปผลการรณรงค์และการประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก ชุมชนละ 1 วัน จำนวน 6 ชุมชน คือ ชุมชนตลาดตั้งจิตต์ศีล, ชุมชนเอื้ออาทร, ชุมชนวัดมงคลมิ่งเมือง, ชุมชนเขตพื้นที่, ชุมชนปลายชล, ชุมชนโคกพะยอมร่วมใจ
    งบประมาณ 1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ “รวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564  หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ตำบลคลองขุด” ขนาด 1 x 3 เมตร  ตารางเมตรละ 120 บาท
    เป็นเงิน    360 บาท 2.ป้ายรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ขนาด 1.20 x 2.50 เมตร  ตารางเมตรละ 120 บาท จำนวน 8 ป้ายๆ ละ 360 บาท                          เป็นเงิน 2,880 บาท 3.ค่าแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก จำนวน 2,377 แผ่นๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 4,754 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมชี้แจงฯ สำหรับ อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้อง 22 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 ครั้ง                          เป็นเงิน 550 บาท 5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมประชุมวางแผนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ฯ สำหรับ อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้อง 22 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 6 ครั้ง      เป็นเงิน 3,300 บาท 6.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมสรุปผลฯ สำหรับ อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้อง 22 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 6 ครั้ง                          เป็นเงิน 3,300 บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )                              เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ในโรงเรียนสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=O) ในชุมชนสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือน ให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐) ผลลัพธ์ ๑. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง     ๒.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15644.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,644.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง
๒.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค


>