กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยปูนแดงตะไคร้หอมสมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยปูนแดงตะไคร้หอมสมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด

1. นางจิราภรณ์ พรหมเมศว์ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านนาแค
2. นางสาววรพรรณรักนุ้ย สมาชิก
3. นางอรศิริ พรหมเมศวร์ สมาชิก
4. นางสาวฟาตีม๊ะ เหร็บควนเคี่ยม สมาชิก
5. นางผอนบัวผัน สมาชิก

หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

25.00

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญปัญหาหนึ่งของหมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ.2563 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-1 ธันวาคม 2563) มีผู้ป่วยสงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคลองขุด จำนวน 10 ราย และจากพื้นที่แสดงผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก พบว่า 4 สัปดาห์ล่าสุด คือ เดือนพฤศจิกายน 2563 ตำบลคลองขุดเป็นพื้นที่สีแดงที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก(ข้อมูลจากงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสตูล)
การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ทำให้เป็นภาระของครอบครัว มีผลต่อการเรียน การทำงาน และค่าใช้จ่ายในการให้บริการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนอาจมีผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร แม้ว่าทางการแพทย์และสาธารณสุขจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการรักษาโรค รวมไปถึงเทคโนโลยีและวิธีการป้องกันและควบคุมโรค แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หมดไปได้ และยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการป้องกันโรคไข้เลือดออก
วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้นมีวิธีการหลากหลายวิธี แต่วิธีที่คนทั่วไปนิยมใช้ที่สุด คือการใช้สารเคมีในการฆ่าลูกน้ำ เนื่องจากสามารถขอรับการสนับสนุนสารเคมีจากหน่วยงานราชการ ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีในการกำจัดลูกน้ำเหล่านี้อาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และเมื่อใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ได้ และน้ำที่ใช้อาจมีกลิ่น ซึ่งลำพังการรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายพาหะของโรค ตามอาคารบ้านเรือน เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ การป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี โดยไม่ให้ถูกยุงลายกัด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ยิ่งกว่า โดยเฉพาะการนำพืชสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในการทำสมุนไพรกำจัดลูกน้ำยังส่งผลดีต่อผู้บริโภคและเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ข้อดีคือสามารถกำจัดลูกน้ำได้ และที่สำคัญทำมาจากสมุนไพรธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค จึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

25.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,325
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
  2. ประชุมชี้แจง อสม.หมู่ที่ 5 บ้านนาแค เรื่องการดำเนินโครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออก และการทำสมุนไพรกำจัดลูกน้ำมาใช้ในชุมชน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้ 
  4. ประชุม อสม.เพื่อวางแผนการดำเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกและการใช้สมุนไพรกำจัดลูกน้ำในชุมชน
    งบประมาณ 1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร  ตารางเมตรละ 120 บาท เป็นเงิน 360 บาท 2.กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออกฯ เป็นเงิน 7,425 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรมให้ความรู้ อสม.และวิทยากร 22 คน ๆ ละ 60 บาท
      เป็นเงิน 1,320 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมให้ความรู้ อสม.และผู้วิทยากร 22 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ                          เป็นเงิน 1,100 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าวัสดุประกอบการอบรม ประกอบด้วย สมุดบันทึก ปากกา แฟ้มพลาสติก ชุดละ 30 บาท จำนวน 21 คน                                เป็นเงิน 630 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดทำปูนแดงตะไคร้หอม    เป็นเงิน 3,175 บาท -เครื่องปั่นอเนกประสงค์ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,000 บาท -ปูนแดง จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท -ผ้าตาข่าย 7 หลา ๆ ละ 35 บาท        เป็นเงิน 245 บาท -ตะไคร้หอม              เป็นเงิน 100 บาท -ถ้วยตวง 1 ชุดๆ ละ 35 บาท      เป็นเงิน 35 บาท -ริบบิ้นลวด 1 ม้วน          เป็นเงิน 150 บาท -ที่กรอง 1 อัน              เป็นเงิน 50 บาท -กรรไกรตัดผ้า 1 อัน        เป็นเงิน 95 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมชี้แจงฯ สำหรับ อสม. จำนวน  21 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 ครั้ง                                เป็นเงิน 525 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ในโรงเรียนสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=O) ในชุมชนสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือน ให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐)


ผลลัพธ์ ๑. อัตราการเกิดโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะลดลง     ๒.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8310.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,310.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>