2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชนหรือท้องถิ่นและตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๗ ข้อ ๗ (๕) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการฯ ทางกองทุน อบต.ช้างเผือก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการภัยพิบัติและโรคระบาด ๒๕๖๔ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดหรือ ภัยพิบัติในพื้นที่ ก็จะสามารถช่วยลดความรุนแรง ความสูญเสีย จากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันท่วงที
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2020
กำหนดเสร็จ 30/09/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
1.เขียนและเสนอโครงการ เพื่อการพิจารณา และขออนุมัติโครงการ 2.สำรวจ ติดตามข้อมูลข่าวสารและประเมินสถานการณ์ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน กรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด 3.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้บริการด้านสุขภาพ กรณีเกิดภัยพิบัติหรือเกิดโรคระบาด ขั้นดำเนินงาน 4.ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน กรณีฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ 5.ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างและหลังสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ขั้นสรุปผล 6.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัย