กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใชันวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชายคลอง

นางศิราณี สังข์ช่วย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชายคลอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเล็กซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สุขภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน และจากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ 1- 5 ปีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในปี 2551 พบว่า เด็กมีอัตราการเกิดฟันผุ ร้อยละ 49.8สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็ก เน้นการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยการให้บริการเชิงรุก การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุโดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 3.6 เท่า และเด็กที่มีฟันผุมากกว่า 6 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 2.7 เท่า (nuntiya et. Al,2018 ) การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาส่งเสริมให้เด็กสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคโดยตนเองภายใต้การจัดการให้ได้รับอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ร่วมกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อ ในการนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหยีในองค์การบริการส่วนตำบลชะมวงอำเภอควนขนุน ได้ตระหนักว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาลเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขก่อน โดยการใช้สารเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงชนิดทาเพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ร่วมกับการใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบ โอติกส์เพื่อทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ นมอัดเม็ดโพรไบโอติก เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการป้องกันโรคฟันผุซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศ.ดร. รวี เถียรไพศาล และ ผศ.ดร.ทพญ. สุพัชรินทร์พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่รองรับได้ถึงผลในการป้องกันโรคฟันผุ และจากการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชายคลอง ได้ให้เด็กรับประทานนมไพรโอติกส์ก่อนกินนมตอนเช้า คนละ ๓ เม็ด เป็นระยะเวลา ๔ เดือน ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงได้ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กปรากฏว่าสุขภาพฟันแข็งแรงและสะอาดขึ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชายคลองจึงจัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อให้เด็กได้รับประทานนมไพรโอติกส์ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและอนามัยช่องปากและป้องกันฟันผุในเด็ก

ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีช่องปากที่ดีขึ้น

55.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ผู้ปกครอง ครู/ผุู้ดุูแลเด็ก เกี่ยวกับความรุู้ด้านนมโพรไบโอติกส์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ผู้ปกครอง ครู/ผุู้ดุูแลเด็ก เกี่ยวกับความรุู้ด้านนมโพรไบโอติกส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็กความรู้ด้านนมโพรไบโอติกและการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าตอบแทนวิทยากร 3ชั่วโมง ๆ ละ600 บาทเป็นเงิน1,800 บาท
2.ค่าอาหารว่าง คนละ 25 บาท จำนวน 58 คนเป็นเงิน 1,450 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
4.ค่าผลิตภัณท์นมอัดเม็ดโพรไบโอติกส์ จำนวน55คน x16ซอง ต่อเทอม(4 เดือน) x ซองละ 12 บาทเป็นเงิน10,560.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2564 ถึง 2 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 90 คน กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับนมโพรไบโอติกส์และเด็กได้กินนมโพรไบโอติกส์ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14560.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการกินนมโพรไบโอติกส์ที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการกินนมโพรไบโอติกส์ที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการกินนมโพรไบโอติกส์ โดยใช้แบบบันทึกสุขภาพช่องปากภายใต้กิจกรรมการใชันวัตกรรมนมอัดเม็ดโพรไบโอติกในเด็กปฐมวัย (สำหรับผู้ปกครอง) เป็นรายสัปดาห์และนำส่งกลับให้คุณครูประจำชั้น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลการกินนมของเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สำหรับผู้ปกครอง ใช้แบบบันทึกติดตามผลการกินนมอัดเม้ดโพรไบโอติกส์ เป็นรายสัปดาห์และนำผลส่งกลับคุณครูประจำชั้น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนครบ 4 เดือน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แบบบันทึกสุขภาพช่องปากภายใต้กิจกรรมการใช้นวัตกรรมนมอัดเม็ดโพรไบโอติกส์ในเด็กปฐมวัย (สำหรับนักเรียน 55 คน)
  2. แบบบันทึกสุขภาพช่องปากภายใต้กิจกรรมการใช้นวัตกรรมนมอัดเม็ดโพรไบโอติกส์ในเด็กปฐมวัย (สำหรับผู้ปกครอง 55 คน)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>