กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกหยีในใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงเรียนบ้านหยีในสามัคคี

1. นางศิริพรรณใจแท้
2. นางสาวรัตนายิ้มด้วง
3. นางสาวอภิฤดีสุขคำ
4. นายชนินทร์นาคะวิโรจน์
5. นางสาวสวรรยาเกิดศิริ

โรงเรียนบ้านหยีในสามัคคี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนบ้านหยีในสามัคคี พบว่าขยะเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของโรงเรียนเพราะปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน สาเหตุเกิดจากการแยกประเภทขยะที่ไม่ถูกต้อง และการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี ทำให้มีขยะตกค้างส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในโรงเรียน เช่น บริเวณอาคารและบริเวณโรงเรียนสกปรก เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ และในบางครั้งมีการเผาขยะในบริเวณโรงเรียนส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน เช่น โรคทางเดินหายใจ หอบหืด ตลอดจนชุมชนที่มีบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้เคียง เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมต้องอาศัยกระบวนการสร้างการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมและสามารถแก้ปัญหาขยะในโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนบ้านหยีในสามัคคี จึงเห็นความสำคัญของการสร้างจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ การสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในโรงเรียน เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่เกิดมาจากปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ขยะที่สกปรกส่งกลิ่นเหม็นรบกวนการเรียนการสอนส่งผลต่อสุขภาพเป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคต่างๆโดยได้จัดทำโครงการจัดการขยะโรงเรียนบ้านหยีในสามัคคี (ลูกหยีใน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม) เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนให้สมบูรณ์ แข็งแรง และก่อให้เกิดประโยชน์อันมหาศาลต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป และสามารถเชื่อมโยงไปยังในชุมชนใกล้เคียงในการจัดการขยะได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยนักเรียน และการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะการลด การคัดแยก การกำจัดขยะที่ถูกวิธี

นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียน มีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยนักเรียน และการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะการลด การคัดแยก การกำจัดขยะที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00 80.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึก สร้างพฤติกรรมของเยาวชนในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญของการลด การคัดแยก การกำจัดขยะ

นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนเห็นความสำคัญของการลด การคัดแยก การกำจัดขยะ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ80

80.00
3 เพื่อจัดการแหล่งขยะในโรงเรียนให้ถูกสุขหลักอนามัย

โรงเรียนมีหลุุมขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน 1.เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยนักเรียน และการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะ 2.เรื่องการลดปริมาณขยะตามหลัก 3 ช ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ 3.เรื่องการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ โดยเชิญวิทยากรภายนอกในการให้ความรู้
งบประมาณ
ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม นักเรียน ครู และบุคลากร 130 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 6,500 บาท
ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตรเป็นเงิน 540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2564 ถึง 29 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียน มีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยนักเรียน และการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะการลด การคัดแยก การกำจัดขยะที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10640.00

กิจกรรมที่ 2 บริหารจัดการขยะในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
บริหารจัดการขยะในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาภาชนะรองรับขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทในบริเวณโรงเรียน ดังนี้
สร้างจุดตั้งถังขยะ 1 จุดหลัก โดยใช้ถังขยะ 4 ประเภท ได้แก่ ถังขยะทั่วไปถังขยะเปียกถังขยะรีไซเคิลถังขยะอันตราย พร้อมมีขาตั้งและป้ายรณรงค์ งบประมาณ 9,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนเห็นความสำคัญของการลด การคัดแยก การกำจัดขยะ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับปรุงพัฒนาหลุมขยะในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงพัฒนาหลุมขยะในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ที่ปรึกษา และผู้ปกครอง ร่วมมือกันพัฒนาหลุมขยะในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 50 บาทจำนวน60 คนเป็นเงิน 3000 บาท 2. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25 บาทจำนวน 60 คน เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลุมขยะโรงเรียนถถูกหลักสุขาภิบาล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียน มีความรู้เรื่องปัญหาขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยนักเรียน และการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะ การลด การคัดแยก การกำจัดขยะที่ถูกวิธี
2. นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนเห็นความสำคัญของการลด การคัดแยก การกำจัดขยะ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3. ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง และ มีการคัดแยกขยะที่ถูกประเภท และกำจัดขยะได้ถูกวิธี


>