กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี บ้านกองเกวียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 1
1.นางเกสร เกลี้ยงกลม
2.นางสมจิตร ทองหนู
3.นางเสงี่ยม บุญศิริ
4.นางนิภา นิระโส
5.นางอำนวย พูลชู

ม.1 ต.แหลมโตนด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

8.00
2 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็ก 0-5 ปี (คน)

 

41.00

ภาวะโภชนาการจากการขาดสารอาหารเป็นสิ่งที่พบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กแรกเกิด- ๕ ปี ซึ่งสาเหตุที่เด็กขาดสารอาหารมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเลี้ยงดูบุตร ความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ผิดๆ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพเด็กทำให้เด็กมีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ พัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาจะช้าลง ดั้งนั้นการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เพื่อเด็กเหล่านี้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ได้รับอาหารที่มีคุณค่า จึงจำเป็นต้องติดตามเผ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยการชั่งน้ำหนัก และให้มีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารและโภชนาการแก่ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพสูงในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมโตนด ตามรายงานพบว่ามีเด็กอายุ ๐-๕ ปี ทั้งหมด 41 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักทั้งหมด 41 คนคิดเป็นร้อยละ 100 เป็นเด็กน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 34 คน เป็นเด็กน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ 1 คน เป็นเด็กน้ำหนักค่อนข้างมาก 2 คน เป็นเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย 2 คน และเป็นเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 2 คน ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่มีระดับความรุนแรงในระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมโตนด ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ๐-๕ เพื่อเฝ้าระวังการขาดสารอาหารในเด็กซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

8.00 8.00
2 เฝ้าระวังภาวะโภขนาการในเด็ก 0-5 ปี

จำนวนเด็ก 0-5 ปีได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

41.00 41.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดหาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
การจัดหาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล  จำนวน 1 เครื่องๆละ  2,500 บาท 2.ที่วัดส่วนสูงสำหรับเด็ก จำนวน 1 อัน ๆ ละ 2,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์สำหรับการปฎิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เด็กแรกเกิด – 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เด็กแรกเกิด – 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เด็ก 0-5 ปีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์และพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0-5 ปีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์และพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโภขนาการรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโภขนาการรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการรายบุคคล เรื่อง อาหารตามวัย และพัฒนาการตามวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้ปกครองที่ให้ความรู้ เรื่องโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีอุปกรณ์เผ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 5 ปี
2. เด็ก 0- 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
3. เด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติได้รับการติดตาม


>