กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียงและด้อยโอกาสทางสังคม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการตำบลจะแหน

นางมาสีเต๊าะล่อเต๊ะ
นางตีบ๊ะไอนา
นางนิซากิย๊ะคามิ

ตำบลจะแหนอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงเป็นการบริการด้านสุขภาพในเชิงรุกอีกวิธีหนึ่งเป็นกลวิธีที่มีความสำคัญ ต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในยุคปัจจุบันในปัจจุบัน มีกลุ่มผู้พิการและผู้ป่วย ติดเตียงเป็นจำนวนมาก ชุมชนตำบลจะแหน เป็นชุมชนหนึ่ง มีผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 7 คน และผู้พิการ เป็นจำนวนมากถึง 178 คน และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ซึ่งเป็นปัญหามากในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย และจิตใจ การเยี่ยมบ้านเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหานั้น เพื่อที่จะหาแนวทางแกไข้ให้เหมาะกับวิถีของชุมชน การเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง ถือว่าเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชน และ การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคลและการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนของการที่จะเกิดโรคขึ้นมาใหม่และเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจในการให้บริการสาธารณสุขประกอบด้วย กิจกรรมหลักคือ การสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากการให้บริการตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุขมุ่งเน้นให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลักทำ ให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่า ที่ควรเป็น และไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลจึงมีนโยบายชัดเจนทางด้านสุขภาพคือ การสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลจะแหน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพการให้ขวัญและกำลังใจดูแลผู้ป่วยกลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงและสามารถลดระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานได้และเพื่อให้ประชาชนมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในการดูแลตนเองควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ เป็นผลให้ประชากรมีสุขภาพดีขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม การสร้างสุขภาพจะให้มีประสิทธิผล ดังนั้นทางศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลจะแหน จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมขึ้น
ประกอบกับปีงบประมาณ 2564 มีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดสรรงบประมาณและแนวทางการดำเนินโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งตามแนวทางค่าใช้จ่ายตามงบประมาณมีเพียงเฉพาะเงินค่าตอบแทนอาสาบริบาลเท่านั้น ยังขาดงบประมาณอื่นๆ ที่จำเป็นได้แก่ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดไข้ถึงมือ และหน้ากากอนามัยเพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
จากการลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริง ตามเป้าหมายคนพิการ 189 ราย และจำนวนผู้ป่วยติดเตียงทั้งที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุตลอดจนผู้ด้อยโอกาสทางสังคม สามารถคัดกรองกลุ่มเป้ายหมายที่จะให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 40 ราย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 5
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2021

กำหนดเสร็จ 24/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  30 คน x 50 บาท x 1 มื้อ       รวม   1,500    บาท -  อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน × 35 บาท × 2 มื้อ    รวม   2,100    บาท -  ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง            รวม   3,600   บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์
      ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 แผ่น                     รวม      547    บาท       ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 30 ชุด x 50 บาท       รวม   1,500   บาท -  กิจกรรมย่อย ลงเยี่ยมบ้าน -  นมถั่วเหลืองสูตรน้ำตาลน้อย ขนาด 180 มล. จำนวน  20 คน ๆ ละ 12 กล่อง ๆ ละ 9.50 บาท เป็นเงิน  2,280 บาท -  ไข่ไก่ จำนวน 30 แพ็ค ๆ 90 บาท  จำนวน 30 คน  เป็นเงิน  2,700 บาท -  ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ จำนวน 5 คน ๆละ 20 ชิ้น /แพ็ค ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท กิจกรรมที่ 2 -  จัดซื้อหน้ากากอนามัยสำหรับอาสาบริบาลใช้เพื่อดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ  จำนวน 10 กล่องๆ ละ   150 เป็นเงิน 1,500 บาท -  ถุงมืออนามัย ใช้สำหรับดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ จำนวน  10 กล่อง ๆ ละ  380  บาท เป็นเงิน 3,800 บาท -  เครื่องวัดความดัน  จำนวน 1 เครื่อง ๆ ละ 3,800 บาท -  เครื่องวัดความดันระบบอัตโนมัติ  จำนวน 1 เครื่อง ๆ ละ 3,800 บาท                    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   30,027     บาท ( สามหมื่นยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2564 ถึง 30 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้รับการเยี่ยมและส่งเสริมสุขภาพทุกคน
  2. ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้รับการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพได้รับการดูแลอย่าง ต่อเนื่องทุกคน
  3. ผู้พิการและผู้ดูแลได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ      4.  ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน      5.  สรุปผลการตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุ      6.  ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อรักษาต่อไป      7.  ประชุมสรุปและประเมินผลโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30027.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,027.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้รับการเยี่ยมและส่งเสริมสุขภาพทุกคน
2. ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงได้รับการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพได้รับการดูแลอย่าง ต่อเนื่องทุกคน
3. ผู้พิการและผู้ดูแลได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ
4.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
5.สรุปผลการตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุ
6.ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อรักษาต่อไป
7.ประชุมสรุปและประเมินผลโครงการ


>