กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

กองการศึกษา/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน

นางสุกัลยา สอเหลบ
นางนิตยา หีมปอง
นางสา่วนัยนามานะกล้า
นางสาวสุไลยาชายเกตุ
นางสาวสุกัญญาเกาะกลาง
นางสาวศิวัชญาจิโส๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน ม.1 ตำบลนาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 3,125 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 2,987 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 58 ราย ยังคงรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 80 ราย ระยะนี้ผู้ป่วยที่มีการยืนยันการติดเชื้อเพิ่มเติมเป็นกลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศและกักกันในพื้นที่ที่รัฐกำหนดรวมผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 11 มิถุนายน 2563 เวลา 11.00 น.)
จากข้อมูลการรายงานเห็นได้ว่าสถานการณ์การระบาดในประเทศยังคงมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามหลักการควบคุมป้องกันโรค ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนั้นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องสร้างความรู้ ความตระหนัก ในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคมการสวมและใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการมีและใช้สบู่หรือเจลแอลกอล์ฮอล์ในการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมาจากกการสัมผัสการทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ ที่มีคนอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานโดยมีกระบวนการให้ความรู้ คำแนะนำต่อกลุ่มเป้าหมาย การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของตำบลนาทอน
ศูนย์พัฒนาเด็กมีความตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของเด็ก ผู้ปกครองและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กรวมถึงผู้มาติดต่อราชการ จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็ก รวมถึงผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคป้องกันโรคการคัดกรองอุณหภูมิการเว้นระยะห่างทางสังคมการทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ ที่มีคนอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานและส่งเสริมด้านสุขอนามัยโดยการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านนาทอนมีการจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

86.00 0.00
2 1.2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) แก่เด็ก ผู้ปกครองและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็ก

ร้อยละ 90 ของเด็ก ผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็ก มีความรู้สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19)

0.00
3 1.3 เพื่อให้เด็กและบุคลากรมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรค

เด็กและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กทุกคนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 86
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หนูน้อยวัยใส ต้านภัยโควิด19

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยวัยใส ต้านภัยโควิด19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) 2.ตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก ครู บุคลากร และผู้ที่มาติดต่อก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพร้อมทั้งบันทึกอุณหภูมิ เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19 3.จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองให้มีความปลอดภัยและปลอดโรคได้อย่างเหมาะสมกับวัย 4.ทำความสะอาดห้องเรียน ห้องใช้สอยต่างๆ สื่อของเล่นต่างๆอย่างสม่ำเสมอ 5.จัดทำสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ -เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากแบบตืดตั้งและฝ่ามือสำหรับคัดกรองหน้าประตูทางเข้าศูนย์พัฒนาเด็กจำนวน 1 เครื่องๆละ 2,500 บาท =2,500 บาท
-เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 450 มิลลิลิตร จำนวน 4 ขวดๆละ 180 บาท = 720 บาท -เครื่องกดเจลล้างมือแบบเหยียบ จำนวน 1 เครื่อง ๆละ 990 บาท
-หน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก จำนวน 8 กล่องๆละ120 บาท =960 บาท
-สบู่เหลวล้างมือขนาด 5 ลิตร จำนวน 2 แกลอนๆละ 259 บาท = 518 บาท
-น้ำยาทำความสะอาด 5 ลิตร จำนวน 1 แกลอนๆละ 500 บาท = 500 บาท
-สื่อประชาสัมพันธ์ 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกคน เข้าใจ ตระหนักและสามารถป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7688.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,688.00 บาท

หมายเหตุ :
ถั่วเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.ทำให้เกิดการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) แก่เด็ก ผู้ปกครองและบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็ก
3.ทำให้เด็กและบุคลากรมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>