กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในกลุ่มเด็ก 0- 72 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในกลุ่มเด็ก 0- 72 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

รพ.สต.บ้านกวาลอซีรา

1. นายมะยุรีเจะโซะ
2. นางสาวโนรียาบินอูเซ็ง

ม.1 ม.3 ม.6 ม.7 ในเขตรับผิดชอบ ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พัฒนาการของมนุษย์เป็นขบวนการที่เปลี่ยนแปลงพัฒนา เป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบ เฉพาะ กล่าวคือพัฒนาการจะเริ่มจากส่วนศีรษะไปส่วนขา ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป ซึ่งระยะแรกเกิด จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลภายนอก โดยเฉพาะพ่อแม่ ให้การช่วยเหลือด้าน อาหาร ให้ความรักความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่ให้ทารกมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกด้านต่างๆ ซึ่งพัฒนาการแบ่งตามช่วงอายุ 5 ด้าน ดังนี้ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและ สติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านช่วยเหลือตัวเองและสังคม และยังพบปัจจัยว่า สภาพครอบครัว สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นบุคคลและสิ่งของ ฯลฯ มีส่วนช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการให้แก่เด็กได้ นำประสบการณ์มาแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตหรือเชาว์ปัญญาได้ และนอกจากนี้ ภาวะโภชนาการของเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับพัฒนาการเด็ก การมีภาวะ โภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ การวางแผน พื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีกีดขวางการเจริญเติบโตของ เด็ก ส่งผลทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าตามมา
โรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ต้องได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญและความและความจำเป็นในการให้เด็กได้วัคซีนตามเกณฑ์อายุ โดยเน้นความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองและ อสม ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความสำคัญของวัคซีนเพื่อที่ป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพทันท่วงที
ดังนั้น การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรก จึงมีความสำคัญและ จำเป็นมากที่ผู้ใหญ่จะให้แก่เด็ก แต่ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาก สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จากเดิมผู้เลี้ยงเป็น พ่อ แม่ ปู่ย่า ตา ยาย ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับเด็ก เลี้ยงเด็กด้วยความรักและผูกพันอยู่กับบ้าน กลายเป็นการนำเด็กไปฝากเลี้ยง ตามสถานเลี้ยงเด็กต่าง ๆ ใน ตอนเช้าและรับกลับตอนเย็น หากเป็นเช่นนี้ระยะที่พ่อ แม่ลูก ได้พบกันเป็นช่วงเวลาที่ต่างคนต่างเหน็ด เหนื่อย จึงทำให้พ่อ แม่ ขาดโอกาสในการกระตุ้นพัฒนาการลูกรัก โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่เห็นความสำคัญด้านนี้ อนึ่งกาลเวลาอายุของเด็ก ไม่สามารถจะหวนกลับมาอีกได้ โดยเฉพาะระยะเวลาแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทองของพัฒนาการเด็ก และจำเป็นต้องส่งเสริมเด็กให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการ สมวัย
จากความสำคัญและจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราจึงได้จัดทำกิจกรรม โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในกลุ่มเด็ก 0- 72 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการสมวัย รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งในปี 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราจำนวน 612 คน ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 598 คน คิดเป็นร้อยละ 97.71 พบอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 2.45 และเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.96 จะเห็นได้ว่าภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน

 

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 72 เดือน ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคน ได้รับการแก้ไขให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
3 3. เพื่อพัฒนางานโภชนาการและเสริมสร้างความเข็มแข็งของภาคีเครือข่ายในชุมชน

 

0.00
4 4. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

 

0.00
5 5. เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการรับวัคซีนตามเกณฑ์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมให้ความรู้และติดตามน้ำหนัก/ส่วนสูง คัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ พัฒนาการในชุมชน - ค่าถ่ายเอกสารคัดกรอง จำนวน 1,200 แผ่นๆ ละ ๐.๕๐ บาท        เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมาย
    1. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
    2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
    3. เด็กมีพัฒนาการสมตามวัย 5.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับ อสม. และผู้ปกครองของเด็กที่มีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับ อสม. และผู้ปกครองของเด็กที่มีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คน คนละ ๒ มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท  เป็นเงิน 2,100  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 42 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท    เป็นเงิน 2,100  บาท            - ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน  คนละ 3 ชม. ชั่วโมงละ 400  บาท      เป็นเงิน 2,400  บาท
    • ค่าจัดทำคู่มือให้ความรู้เรื่องโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก จำนวน 27 เล่ม เล่มละ 70 บาท                                                                                                         เป็นเงิน 2,940  บาท
    • ค่าจัดทำวัสดุไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 2.0 เมตร ราคา 500 บาท จำนวน 1 ผืน                                 เป็นเงิน 500    บาท
  • ค่าปากกาลูกลื่น จำนวน 42 ด้ามๆละ 5 บาท                เป็นเงิน    400 บาท
    -  ค่าถุงผ้าลดโลกร้อนขนาด 12 x 14 นิ้ว จำนวน 42 ใบๆละ 20 บาท  เป็นเงิน  840  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมาย
    1. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
    2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
    3. เด็กมีพัฒนาการสมตามวัย 5.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11280.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารเสริม (นมกล่อง) ขนาด 180 มล. จำนวนกล่องละ 10 บาท คนละ 150 กล่อง จำนวน 27 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมาย
    1. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
    2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
    3. เด็กมีพัฒนาการสมตามวัย 5.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมาย
2. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
4. เด็กมีพัฒนาการสมตามวัย
5.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์


>