กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการได้รับวัคซีนป้องกันตามวัยในเขต อบต.ตุยง ปี 64

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

โรงพยาบาลหนองจิก

หมู่ที่ 1-8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมของตำบลตุยง 8 หมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2562-2563 พบว่า ผลของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเป็นรายไตรมาสในภาพรวม กลุ่มเด็กอายุครบ 1 ปีได้แก่ วัคซีน BCG ร้อยละ 97.48,93.75HBV1 ร้อยละ 97.48,93.75, DTB-HB3OPV3 ร้อยละ 69.75, 65.63 และ MMR1 73.95,66.41 , IPV1 ร้อยละ 76.47,71.09 เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีน DTP4 , OPV4 ร้อยละ 50.39,56.35และJE1 60.47,59.52, เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีน JE2 ร้อยละ 58.02,49.32 , MMR2 ร้อยละ 58.02,57.53และเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีน DTP5 , OPV5 ร้อยละ 41.88,34.25ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDC จากจังหวัดเดือนตุลาคม 2562 , พฤศจิกายน 2563) จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงอายุหรือบางรายไม่ได้รับวัคซีน ทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้น ได้แก่ โรคหัด , โรคคอตีบ และโรคไอกรน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคหัดในเขต อบต.ตุยง ช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2562, 2563 พบว่า เด็กในกลุ่มอายุต่ำกว่า 12 ปี เกิดโรคหัด จำนวน 14 ราย และ 0 ราย จากการไม่ได้รับวัคซีนหรือบางรายได้รับวัคซีนไม่ครบ และเข้ารับการรักษานอนในโรงพยาบาล ระยะเวลา 4-8 วัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ และภาวะปอดบวมรุนแรง เป็นต้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องดูแลบุตรอย่างต่อเนื่องและป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดต่อโรคหัดจากลูกโดยการใส่ผ้าปิดจมูก และรับบริการฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ในกลุ่มผู้สัมผัสทุกคนในครอบครัวที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ณ โรงพยาบาลใกล้บ้าน
จากการวิเคราะห์และสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองในชุมชน พบว่า สาเหตุการได้รับวัคซีนในเด็กไม่ครบตามเกณฑ์หรือไม่ได้รับ มีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ กลัวบุตรมีไข้ทำให้ผู้ปกครองต้องหยุดงานและขาดรายได้ , ผู้ปกครองขาดความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการวัคซีน ณ สถานบริการสาธารณสุข , ผู้ปกครองไปประกอบอาชีพชายแดนมาเลเซียหรือต่างจังหวัด ทำให้เด็กขาดนัดการได้รับวัคซีนหรือไม่ได้ฉีด เด็กอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถมารับบริการได้ ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ทำให้ไม่พาบุตรหลานมาฉีด จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในระยะยาวต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กในชุมชนตำบลตุยง ดังนั้นคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตำบลตุยงโดยโรงพยาบาลหนองจิก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และลดอัตราป่วยการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคหัด และโรคคอตีบ รวมทั้งพัฒนาระบบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยอาศัยเครือข่ายในชุมชน ติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับวัคซีน เพื่อให้ได้วัคซีนครบตามเกณฑ์ช่วงอายุต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในเขต อบต.ตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีครบตามเกณฑ์มาตรฐาน เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 90% (ยกเว้นวัคซีน MMR เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 95%)

0.00 90.00
2 อัตราการเกิดโรคป้องกันได้ด้วยวัคซีนในตำบลตุยงลดน้อยลงจากเดิม

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคคอตีบ เป้าหมาย ไม่เกิน 0.015 ต่อประชากรแสนคน และโรคหัดในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ เป้าหมาย ไม่เกิน 3 ต่อประชากรล้านคน

0.00 0.00
3 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบมีการติดตามเด็กส่งคลินิกสุขภาพเด็กดี หรือเจ้าหน้าที่ให้บริการเชิงรุกในพื้นที่ กรณีที่ไม่สามารถมารับวัคซีนได้ที่รพ

อัตราการติดตามเด็กขาดนัดโดย อสม.ในพื้นที่ครบทุกราย เป้าหมาย 100%

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม จัดกิจกรรมเวทีประชาคมในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุม จัดกิจกรรมเวทีประชาคมในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีประชุมถอดบทเรียนวัคซ๊นแก่ผู้ปกครองเด็กในเขต อบต.ตุยง และเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้บริการวัคซีนเชิงรุกในรายที่ไม่สามารถมาสถานบริการสาธารณสุขได้ จำนวน 4 ครั้ง ในชุมชนเขต อบต.ตุยง - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มจำนวน 40 คน X 60 บาท x 3 ครั้งเป็นเงิน7,200.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 3 ครั้ง เป็นเงิน8,400.- บาท รวมเป็นเงิน 15,ุ600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องวัคซีนในพื้นที่ส่งผลให้อัตราการรับวัคซีนดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

กิจกรรมที่ 2 รุกชุมชน เติมเต็มวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
รุกชุมชน เติมเต็มวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

บริการวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่ตามส่วนขาดในแต่ละไตรมาส เพื่อให้การได้รับวัคซีนของเป้าหมาย มีทางเลือกที่เพิ่มขึ้น ในบางรายมีปัญหาอุปสรรคไม่สามารถที่จะรับวัคซีนที่โรงพยาบาลได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราการได้รับวัคซีนดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินกิจกรรม ผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินกิจกรรม ผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม สรุปผลการดำเนินงานวัคซีน เป็นรายไตรมาส โดยนำข้อมูลจากการประชาคม การรุกพื้นที่ เพื่อรวบรวมและแก้ไขปัญหาเป็นไตรมาส และจัดทำรูปเล่มผลการดำเนินงานส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตุยงเมื่อเสร็จสิ้นโครงการฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปส่งคณะกรรมการกองทุนฯ และข้อมูลเพื่อนำไปแก้ไขในปีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,600.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมเครือข่ายสุขภาพในเขตรับผิดชอบของ อบต.ตุยง เพื่อรับทราบข้อมูลเด็กขาดนัดหรือไม่ได้รับวัคซีนในแต่ละรายเป็นรายไตรมาส เพื่อติดตามการได้รับวัคซีน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการปฏิบัติงาน
2. ประชุมผู้ปกครองเด็กในเขต อบต.ตุยงเรื่อง การใช้สมุดบันทึกสุขภาพมารดาและเด็ก เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับการได้รับวัคซีน และให้บริการวัคซีนเชิงรุกในเด็กรายที่ไม่สามารถมาสถานบริการสาธารณสุขได้
3. การรุกพื้นทีเพื่อติดตามและบริการฉีดวัคซีนเชิงรุกร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ในกรณีที่มีปัญหาที่จะต้องไปรับบริการที่โรงพยาบาล

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีในชุมชนเขต อบต.ตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนน้อยลงจากเดิม
2. ผู้ปกครองมีความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและอาสาสมัครสาธารณสุขมีระบบในการติดตามเด็กเป็นราย
พื้นที่รับผิดชอบ


>