กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยไชโย (แก้ปัญหาทุพโภชนาการ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

เขตพื้นที่การรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนาทับ 8 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ครอบครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงทำงานหาเลี้ยงครอบครัวโดยทำงานนอกบ้านมากขึ้น เวลาที่ให้ครอบครัวและช่วยเกื้อกูลครอบครัวน้อยลง ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวอ่อนแอลง พ่อแม่ไม่มีเวลาใกล้ชิด
ดูแลบุตรจึงอาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพและพัฒนาการเด็ก ให้การเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญา จิตใจอารมณ์ สังคมของเด็กบกพร่อง สภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ การเงิน หรือปัญหาครอบครัว ล้วนแต่เป็นปัญหาของสังคมจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัด แต่พบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีปัญหาภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม และมีระดับความรุนแรงของปัญหาในอันดับต้น ๆ ของประเทศ จากการศึกษา เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 1-5 ปี ในจังหวัดสงขลา พบว่า น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 5.95 มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในขณะที่ ร้อยละ 5.95 มีน้ำหนักเกินและอ้วน และพบว่า
ร้อยละ 18.6 ขาดไอโอดีน จากข้อมูลพบว่า เด็ก 1-5 ปีของจังหวัดสงขลา มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละของประเทศ และเด็กที่เตี้ยหรือน้ำหนักน้อยมีความเสี่ยงต่อภาวะเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไป
จากสถานการณ์และปัญหาดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าปัญหาโภชนาการในกลุ่มประชากรเด็ก 0 -5 ปี ในจังหวัดสงขลาถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุชภาพตำบลนาทับ วิเคราะห์ข้อมูลด้านโภชนาการเด้ก 0-5 ปีพบว่าปีงบประมาณ 2562มีเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ยร้อยละ21.85ภาวะผอมร้อยละ5.14ภาวะอ้วนร้อยละ 8.77ปี 2563มีเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ยร้อยละ22.93ภาวะผอมร้อยละ7.28ภาวะอ้วนร้อยละ 6.78จากรายงานข้างต้นเป็นปัญหาภาวะทุพโภชนาการ อาจเกิดจากผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตข้างหน้าต่อไปและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง หากหน่วยงานของรัฐและประชาชน
ทุกภาคส่วนยังคงเมินเฉยต่อปัญหา และไม่มีแนวทางหรือมาตรการในการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและยั่งยืน เชื่อได้ว่าปัญหาจะมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนวัยเด็ก0 -5 ปี อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ คือ อาหารสะอาด (Clean Food) อาหารมีโภชนาการดี (Good Nutrition) และอาหารที่ทำด้วยความรัก (Made with Love) โดยเปิดโอกาสให้ครอบครัวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ใช้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี ผู้ปกครองมีศักยภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับบริบทของชุมชนเพื่อทำให้ปัญหาภาวะโภชนาการในพื้นที่ลดลงหรือหมดไปในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เด็กอายุ 0-5 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข้และมีสุขภาพภาวะดีขึ้น

1.เด็กอายุ 0-5 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข้และมีสุขภาพภาวะดีขึ้น ร้อยละ5

0.00
2 2.พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะการจัดอาหารที่เหมาะสมและส่งเสริมภาวะโภชนาการให้เหมาะสมตามวัย

1.พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ  และทักษะการจัดอาหารที่เหมาะสม ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายเด็ก0-5 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
1.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายเด็ก0-5 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินภาวะโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่1และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 30คนๆละ25 บาทเป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้เข้าร่วมโครงการ จำนวน30 คน 2.พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดเมนูอาหาร การเลือกอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสมตามวัย

ชื่อกิจกรรม
2.จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดเมนูอาหาร การเลือกอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสมตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง เครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน30คนๆละ100 บาท เป็นเงิน 3,000บาท -ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง เครื่องดื่มสำหรับอสม. จำนวน30คนๆละ100 บาท เป็นเงิน 3,000บาท -ตัวอย่างอาหารถูกหลักโภชนาการ/ไม่ถูกหลักโภชนาการ จำนวน 30 อย่างๆละ 50บาท เป็นเงิน 1500บาท -ค่าวิทยากร 1ท่านๆละ4 ชมๆละ 600 บาทจัดกิจกรรม 1 วัน เป็นเงิน2,400 บาท -ค่าวัตถุดิบในการจัดตัวอย่างเมนูอาหาร10 รายการอาหาร เป็นเงิน 3000 บาท -ค่าคู่มืออาหารตามวัย จำนวน 30เล่มๆละ 150 บาท เป็นเงิน 4500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งเสริม มีความรู้และทักษะหลักโภชนาการจำนวน 30 ราย 2.พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีความรู้และทักษะหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประเมินติดตามภาวะโภชนาการกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
3.ประเมินติดตามภาวะโภชนาการกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินติดตามภาวะโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย โดย อสม ประจำหมู่บ้าน จำนวน4ครั้ง

- แบบประเมินภาวะโภชนาการประจำตัวกลุ่มเป้าหมาย พร้อมภาพถ่าย จำนวน 30 เล่มๆละ 100 บาท เป็นเงิน3000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คนๆละ25 บาทจำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 3000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับอสม. จำนวน 20 คนๆละ25 บาท เป็นเงิน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักเรื่องหลักโภชนาการในเด็ก และผลเสียของภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลและมีภาวะโภชนาการดีขึ้น
2.พ่อแม่และผู้ปกครองมีความรู้ ทักษะการจัดอาหารให้เหมาะสมตามวัย และบริบทของพื้นที่
3.เกิดมาตราการทางสังคม เรื่อง ลด เลิกการบริโภคขนมซองในเด็กเล็ก
4.เด็กที่เข้าร่วมโครงการต้องไม่มีการบริโภคขนมวอง


>