กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ Smart Kids เด็กบองอดูดี สมวัย แข็งแรง ประจำปี ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่มีส่วนสูงและรูปร่างไม่สมส่วน

 

150.00
2 จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

11.00

อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในทุก ๆ วัย ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนวัยเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นวัยที่มีการวางรากฐานพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นระยะแรกที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็ก อาหารและโภชนาการที่ดี จึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ ภาวะโภชนาการไม่สมวัย มีปัญหาน้ำหนักไม่ตามเกณฑ์ ล้วนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม เด็กไม่ชอบรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ประเภท ผัก ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาหารเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อาหารน่ารับประทาน การดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย เริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งเป็นทารก เข้าสู่วัยเรียน และวัยรุ่น เน้นการส่งเสริมโภชนาการ และการออกกำลังกาย สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง ซึ่งข้อมูลวิชาการในหลายประเทศระบุว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีที่เตี้ย มักมีภูมิต้านทานต่ำ ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย เจ็บป่วยบ่อย ป่วยนาน และรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตได้ และยังพบว่ามีผลต่อการพัฒนาสมอง โดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า และความสามารถในการเรียนรู้บกพร่อง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เฉื่อยชา ทั้งนี้พัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา จะเจริญมากที่สุดในช่วงนี้ และพัฒนาการในทุกๆด้านในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่นๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ จึงเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ Smart Kidsเด็กบองอดูดี สมวัย แข็งแรง ประจำปี ๒๕๖๔เพื่อพัฒนาการที่เติบโตสมวัย มีอารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใส ส่งผลให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุด พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูบุตร

ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ ๘๐

72.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี รูปร่างสมส่วน

เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี รูปร่างสมส่วน ร้อยละ ๘๐

62.67 80.00
3 เพื่อให้เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า ได้รับการติดตาม

เพื่อให้เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า ได้รับการติดตาม ร้อยละ ๑๐๐

93.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 661
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะในการเลี้ยงดูบุตรในเด็กที่มีส่วนสูงและรูปร่างไม่สมส่วน จำนวน ๓รุ่น

ชื่อกิจกรรม
๑. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะในการเลี้ยงดูบุตรในเด็กที่มีส่วนสูงและรูปร่างไม่สมส่วน จำนวน ๓รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะในการเลี้ยงดูบุตรในเด็กที่มีส่วนสูงและรูปร่างไม่สมส่วน -ค่าไวนิลป้ายโครงการ ๑ แผ่น ขนาด ๑x๓ เมตร เป็นเงิน๗๕๐บาท -ค่าอาหารกลางวัน๑๕๐ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน๗,๕๐๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๑๕๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน๗,๕๐๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท x ๓ รุ่น เป็นเงิน ๑๐,๘๐๐บาท - ค่าจ้างเหมาเต้นท์ จำนวน๒ หลังๆละ๗๐๐บาทx ๓ วัน เป็นเงิน ๔,๒๐๐บาท - ค่าเช่าเก้าอี้จำนวน ๕๐ ตัว x ๗ บาท x ๓ รุ่นเป็นเงิน ๑,๐๕๐ บาท - ค่าเช่าเครื่องเสียง ๑,๓๐๐บาทx ๓ วัน เป็นเงิน ๓,๙๐๐บาท รวมเป็น๓๕,๗๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีทักษะในการเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35700.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. กิจกรรมให้ความรู้ การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและตรวจพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
๒. กิจกรรมให้ความรู้ การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและตรวจพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้ การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและตรวจพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย -ค่าอาหารกลางวัน๕๐ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๕๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๒,๕๐๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐บาท รวมเป็น๘,๖๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยได้รับตรวจพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 ๓. กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้อยกว่าเกณฑ์)

ชื่อกิจกรรม
๓. กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้อยกว่าเกณฑ์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้อยกว่าเกณฑ์)
-ค่าอาหารกลางวัน  ๑๑ คน x ๕๐ บาท                  เป็นเงิน   ๕๕๐  บาท
-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม  ๑๑ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ            เป็นเงิน   ๕๕๐  บาท -ค่าอาหารเสริม   ๑๑ คน x ๑๙๐ บาท x ๑๐ เดือน            เป็นเงิน ๒๐,๙๐๐  บาท
-ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท                                             เป็นเงิน  ๓,๖๐๐ บาท                                                                      รวมเป็น  ๒๕,๖๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้อยกว่าเกณฑ์)  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 69,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูบุตร
๒. เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า ได้รับการติดตาม
๓. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้อยกว่าเกณฑ์) มีน้ำหนักที่ดีขึ้น


>