กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ L1473-64-02-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มกราคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 25,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุลธิดา สังข์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจารีพันธ์ ฝันนิมิตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในการพัฒนาสาธารณสุข เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนา กลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เริ่มต้น  และปรับปรุงระบบบริการของรัฐให้สามารถรองรับและเชื่อมต่อกับระบบการสาธารณสุขมูลฐานของชุมชนได้  นอกจากนั้นยังต้องอาศัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมกับท้องถิ่น  เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาปัญหาวางแผนแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและต่อเนื่องได้ในที่สุด สำหรับปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและทวีความรุนแรงมากขึ้น  ในเขตรับผิดชอบของตำบลโคกสะบ้ามีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน  และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี
จากสถานการณ์โรคอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของสถานีอนามัยตำบลโคกสะบ้า ในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2561 มีแนวโน้มสูงทุกปี คือ ปี พ.ศ. 2559 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 4,202.33 ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูง 9,982.12 ต่อแสนประชากร,ปี พ.ศ. 2560 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 4,322.22 ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูง 10,982.12 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2560 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 4,02.22 ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูง 8,922.12 ต่อแสนประชากร และตามเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์จังหวัดตรัง  ได้กำหนดให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป  ได้รับการค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ  90 ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลโคกสะบ้า จึงมีแนวคิดว่าการดำเนินการในการค้นหาผู้ป่วยให้ได้ครอบคลุม จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลโคกสะบ้า  อำเภอนาโยง  จังหวัดตรังขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

80.00 60.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

80.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 3406 50,900.00 1 25,450.00
18 ม.ค. 64 ควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3,280 25,450.00 -
20 ก.ย. 64 โครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 126 25,450.00 25,450.00

1 จัดทำโครงการและเสนอโครงการ 2 ชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ(อสมทั้งหมด) 3 จัดทำแบบสำรวจ แบบรายงาน และเตรียมอุปกรณ์ในการตรวจหาน้ำตาลในเลือดและเครื่องวัดความดันโลหิต 4 อสม.ออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มประชาชน 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
5 จัดทำทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 6 ให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้บริการปรึกษา
7 อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกเยี่ยมติดตามผู้ป่วยเดือนละ 1 ครั้ง 8 รายงานผลการดำเนินงานตามระบบรายงานประจำเดือ 9 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมและเมื่อเจ็บป่วยได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง 2.ประชาชนมีความศรัทธาในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข และให้ความร่วมมือในการพัฒนางานสาธารณสุขมากขึ้น
3.อัตราป่วยจากโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 11:45 น.