กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนสิงห์
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศักดิ์ประพงษ์ พาหา
พี่เลี้ยงโครงการ นายศักดินันท์ ดวงตา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนใช้สารเคมีในการปราบวัชพืช เช่น หญ้าในสวนยางพารา ในนาข้าว
200.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้ จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช โดยผลกระทบจากการใช้สารเคมีอาจจะส่งผลกับสุขภาพได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การใช้สารเคมีที่ไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ การสัมผัสสารเคมีตกค้างจากอาหาร หรือสิ่งแวดล้อมตามห้วย หนอง-คลอง-บึง เป็นต้น ด้วยประชากรส่วนใหญ่ในตำบลนาสิงห์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ซึ่งระกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำสวนยางพารา มีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช กระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังคงใช้ในระดับที่สูงอยู่ โดยเฉพาะยาปราบศัตรูพืชกลุ่มออแกนโนฟอสเฟสและกลุ่มคาร์บาเมท ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสิงห์ เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำ”โครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ ๒๕๖3” ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลนาสิงห์ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดโดยการวัดค่าเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสว่าอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและมีการอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลนาสิงห์ ๒. เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

200.00 200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 10,800.00 2 10,800.00
22 - 23 ก.ย. 63 1. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร จำนวน 200 คน 200 3,400.00 3,400.00
28 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช 200 7,400.00 7,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกลุ่มเสี่ยงในตำบลนาสิงห์ เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร
๒. เกษตรกรมีความรู้วิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง มีความตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 12:30 น.