กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
รหัสโครงการ 64-L7250-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน อสม.ชุมชนหน้าค่ายรามคำแหง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 60,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นางลัดดา บัวใหญ่ ) ตำแหน่ง ประธาน อสม.ชุมชนหน้าค่ายรามคำแหง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาด้านโรคติดต่อที่พบ คือโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุข ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีและปัจจุบัน    ในผู้ใหญ่อาจพบโรคนี้ได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้  มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจมีชุมชนที่รับผิดชอบ ๖ ชุมชนคือ ชุมขนกุโบร์ ชุมชนสมหวัง ชุมชนมิตรเมืองลุง ชุมชนหน้าค่ายรามคำแหง ชุมชนบ่อหว้าสามัคคีและชุมชนมิตรสัมพันธ์ ซึ่งก็มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกดังนี้คือ ปี พ.ศ ๒๕๕๗ จำนวน ๑๙ ราย  พ.ศ๒๕๕๘ จำนวน ๒๔ ราย พ.ศ ๒๕๕๙จำนวน ๒๖ ราย และปี ๒๕๖๐ พบผู้ป่วยจำนวน ๑๔ ราย ปี๒๕๖๑ พบผู้ป่วย ๙ ราย ปี2562 พบผู้ป่วย 7 ราย และปี 2563 พบผู้ป่วย จำนวน 7 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันและการจัดการที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ อสม. ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำลายลูกน้ำยุงลายในชุมชน

๑. จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกน้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ๒. เพื่อให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน ๑๐ และค่า CI = ๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมวางแผน ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน พร้อมคัดเลือกตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ๓. จัดอบรมให้ความรู้แกนนำเยาวชนและหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกและหลักการควบคุมโรค ๕ ป.
๔. จัดรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี 5. อสม.ทุกคน สำรวจค่า HI และ CI ในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ 6. ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ 7. . ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี 2. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 15:08 น.