กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาวะโภชนาการจากโรคอ้วนและผอมในนักเรียน
รหัสโครงการ 64-L5251-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหน่ำฮั้ว
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 36,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปิยะตา สุทธิเทะธำรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

โครงการภาวะทุพโภชนาการจากโรคอ้วนและผอมในเด็กและนักเรียน มี 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องอันตรายจากภาวะทุพโภชนาการในนักเรียน
1. เสนอโครงการต่อเทศบาลสำนักขาม พิจารณาและอนุมัติโครงการ 2. จัดประชมบุคลากร เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ วางแผนงาน ประมาณค่าใช้จ่าย จัดทำกำหนดการอบรม และการดำเนินงานกิจกรรม 3. เตรียมดำเนินการร่างหนังสือเชิญวิทยากร ตัวแทนผู้ปกครอง และแขกผู้มีเกียรติ - วิทยากรจากโรงพยาบาลสะเดาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ - ตัวแทนผู้ปกครอง ๑๐ คน 4. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สมุด ปากกา ดินสอ กรดาษ เอ 4 และแบบประเมินความพึงพอใจ 5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องอันตรายจากโรคอ้วนและผอมในเด็กและนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน ป.๒-๖ จำนวน ๔๙ คน ครูและบุคลากร ๙ คน และตัวแทนผู้ปกครอง ๑๐ คน
6. สรุป ประเมินผล รายงานผล และนำผลการประเมินไปปรับปรุง พัฒนาในครั้งต่อไป กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมการออกกำลังกายให้น้ำหนักสมส่วน
1. จัดประชุมครูและบุคลากร เพื่อวางแผนและมอบหมายงาน เพื่อดำเนินงานคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์(อ้วน) 2. คัดกรองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์(อ้วน) ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ครั้งที่ ๑ เพื่อการเปรียบเทียบ จัดทำบัญชีลงเวลาการออกกำลังกาย และตารางเปรียบเทียบน้ำหนัก 3. จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักวิเคราะห์ไขมัน แสดงค่า BMI, Body, Age 4. จัดกิจกรรมให้นักเรียน ๙ คนที่เป็นโรคอ้วน เดิน-วิ่งรอบลานกีฬาและกิจกรรมเข้าจังหวะเต้นบาสโลป บริเวณโรงเรียน ในช่วงเวลาหลังเสร็จกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้าของทุกวันทำการ ใช้เวลา ๑๕ นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๔ วัน และชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว เดือนละ ๑ ครั้ง 5. ประเมินผลโดยการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กและวัดรอบเอว นักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 6. สรุป รายงานผล และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมอาหารมื้อเช้าช่วยให้เราสมบูรณ์ 1. จัดประชุมครูและบุคลากร เพื่อวางแผนและมอบหมายงาน เพื่อดำเนินงานคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์

  1. คัดกรองนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและวัดรอบเอว ครั้งที่ ๑ เพื่อการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงในครั้งต่อไป
  2. จัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม)จำนวน ๑๓ คนๆละ ๒๐ บาท 101 วัน
  3. ประเมินผลโดยการเปรียบเทียบน้ำหนัก ส่วนสูง และวัดรอบเอวของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
  4. สรุป รายงานผล และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนไม่ให้เกิดโรคอ้วนและผอม ๒. เด็กและนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์(อ้วน) ร้อยละ ๑๔.๒๘ (๗ คน) มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน ๓. เด็กและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) ร้อยละ ๑๗.๘๐ (๑๓ คน) มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 15:18 น.