กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนห่วงใย ใส่ใจคัดกรองโรค (NCD) ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3039-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลปุลากง
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 ตุลาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมมัดสุปรี อารง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
27.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
6.00
3 ร้อยละของประชาขนอายุ 30 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน
94.00
4 ร้อยละของประชาขนอายุ 30 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
95.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกก็มีมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต (Life style) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มาจากพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคนำไปสู่การเกิดโรคอื่นๆ อีกหลายๆโรค และนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จึงจะสามารถป้องกันโรคได้
โดยในทุกๆ ปี ที่ผ่านทีมสุขภาพ พบว่าได้ลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคในชุมชน และพบว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวพบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ไม่ออกกำลังกาย กินคาร์โบไฮเดรตและไขมันเยอะเกิน สูบบุหรี่จัด ภาวะเครียด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ ก็คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็มัก จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติทั่วไป อีกทั้ง ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูง กลุ่มแฝง ถ้าไม่ได้รับการดูแล/รักษาอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้ในอนาคต เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานระยะแรกๆ ส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง
ดังนั้น ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ตำบลปุลากง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “รู้ไต๋ รู้ใจ รู้เค้า รู้เรา ปี 2563” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  1. ประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน มากกว่าร้อยละ 96
  2. ประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ 96
94.00 96.00
2 อสม. มีความรู้ มีทักษะ สามารถให้บริการคัดกรองโรคในชุมชนได้
  1. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ ร้อยละ 80
  2. อสม. สามารถปฏิบัติให้บริการคัดกรองโรคเบื้องต้นได้ ร้อยละ 100
60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,100.00 0 0.00
5 ต.ค. 63 - 28 ก.พ. 64 พัฒนาศักยภาพ อสม. ในการคัดกรองโรคเบื้องต้น 0 10,550.00 -
1 พ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 0 18,550.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง
ประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองโรคแล้วพบภาวะเสี่ยงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 10:29 น.