กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพอเพียงนำหน้า ชราสุขใจ ทุกวัยแข็งแรง
รหัสโครงการ 60L4145-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาตอง
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง
พี่เลี้ยงโครงการ อสม.(....นายอเด่ลสะแต....) ตำแหน่ง..พยาบาลวิชาชีพปฏับัติ.การ...
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2555– 2559 ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา”เน้นการพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจกครอบครัว ชุมชนสู่สังคมที่มีคุณภาพและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2560– 2564เน้นการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ปัจจุบันแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นประกอบกับนโยบายด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนว่าให้มีการดูแลสุขภาพของประชาชน กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามชุดสิทธิประโยชน์ให้คลอบคลุมทั้ง4ด้านคือด้านเสริมสร้างสุขภาพ, ด้านการป้องกันโรค, ด้านการรักษาพยาบาลและด้านการฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวมและต่อเนื่องโดยเน้นด้านสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจตระหนักที่จะดูแลสุขภาพของตนเองร่วมด้วย ผู้สูงอายุหรือความชราภาพ เป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากอายุเพิ่มมากขึ้นและปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วย การได้รับการบาดเจ็บในกระบวนฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจประกอบด้วยการใช้วิธีต่างๆทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการจัดหาและการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยผู้สูงอายุ และบริการที่สนับสนุนการดำรงชีวิต การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือการเสริมสร้างความสามารถของผู้สูงอายุ แต่ในทางปฏิบัติผู้สูงอายุยังไม่ได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและยังไม่ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพทุกด้านอย่างจริงจังจากภาครัฐและสังคม ถึงแม้ภาครัฐจะมีโครงการต่างๆมากมายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุแต่บางครั้งอาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่แท้จริงของผู้อายุ ผู้สูงอายุบางคนอยู่ห่างไกล มีฐานะยากจน ขาดผู้ดูแล เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือจากภาครัฐด้วยบริบทของพื้นที่เป็นสังคมชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และรับจ้างรายวัน แบบไปเช้า เย็นกลับ ช่วงกลางวันจะมีแต่ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่บ้านเพียงลำพัง ส่งผลต่อชีวิตประจำวันคือผู้สูงอายุไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันได้เองทั้งหมดทำให้ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงญาติ หรือลูกหลาน บางคนต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่บ้านคนเดียวในตอนกลางวันโดยญาติเตรียมหาอาหารข้าวของเครื่องใช้วางไว้ใกล้ๆที่สามารถหยิบเองได้การเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพมีจำกัด ประกอบกับฐานะยากจนไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ถ้า เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆก็จะรักษากันเองผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดการฟื้นฟูด้านจิตใจ การได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านจากเครือข่ายสุขภาพชุมชน ถือเป็นความห่วงใยในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและสภาพของผู้สูงบางรายเป็นผู้สูงอายุติดเตียงที่ต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดเวลาและการดูแลช่วยเหลือจากชุมชนถือเป็นกระบวนการส่งเสริมสุขภาพใจผู้สูงที่ยั่งยืนวิธีหนึ่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลารับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุจากการสำรวจ 239 คน ผู้สูงอายุติดสังคม 177 คน ติดบ้าน 48 คน และติดเตียง 14 คน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพใจ บางคนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องเป็นภาระกับครอบครัว ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาตองได้ดำเนินการสำรวจผู้สูงอายุ ติดตามดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้ามารับการรักษาพยาบาลโดยการเยี่ยมบ้านแต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะความร่วมมือจากครอบครัว และชุมชน

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตองและชมรมผู้สูงอายุตำบลกาตอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพอเพียงนำหน้า ชราสุขใจ ทุกวัยแข็งแรง ประจำปี2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัว บุตรหลาน ญาติหรือชุมชน ร้อยละ 100 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจและดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร้อยละ 100 3. เพื่อสรางเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ ให้เป็นเครือข่ายการดูแล และ เยี่ยมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการได้รับการช่วยเหลือร้อยละ 100 5. เพื่อลดโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้สูงอายุที่ติดเตียงลงโดยเฉพาะเรื่องการเกิดแผลกดทับและข้อติดร้อยละ 80

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแก่อสม. ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านและ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง จำนวน 114 คนเพื่อเน้นกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายในการดำเนินงาน 2.จัดทำแผนการเยี่ยมบ้าน และออกเยี่ยมติดตามดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้าน จำนวน 48 คนและติดเตียง
จำนวน 14 คนโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับแกนนำชุมชน อสม. และ อบต.พร้อมมอบชุดของเยี่ยม เพื่อเสริมสร้างความรู้และกำลังใจ ซึ่งประกอบด้วยคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, ยาสามัญประจำบ้าน,
อาหารเสริม(นมสำหรับผู้สูงอายุ) 3. จัดคลินิกเคลื่อนที่ในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุทุกหมู่บ้านอย่างน้อยหมู่บ้านละ 2 ครั้งต่อปี 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ ในพื้นที่รับผิดชอบ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้ผู้สูงอายุ ในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามความเหมาะสม
  3. ผู้สูงอายุ มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
  4. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้พิการมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 21:06 น.