กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย หมู่ที่ 5-12 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3323-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 26,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิวัฒน์ หมุดลิหมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผลด้วยโรคไข้เลือดออกและปวดข้อยุงลาย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 -14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ทุกกลุ่มวัย และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ตำบลพนางตุง มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี ในปีที่ผ่านมาได้มีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายอย่างเข้มแข็ง ทั้งอสม. ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และในกรณีที่เกิดการระบาด ได้ว่าจ้างผู้ที่ผ่านการอบรมการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย มาพ่นเพื่อกำจัดยุงลายกรณีที่มีผู้ป่วย/สงสัยป่วยด้วยไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลพนางตุง ได้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย หมู่ที่ 5-12 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและปวดข้อยุงลาย ในพื้นที่

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน  ค่า HI ไม่เกิน 10 และค่า CI เท่ากับ 0

0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบสามารถควบคุมโรคได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,460.00 0 0.00
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1.เขียนโครงการและแผนงานเพื่อขออนุมัติโครงการ ขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 0 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 2. ชี้แจงโครงการและระยะเวลาดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่/ อสม./ผู้นำชุมชน/เทศบาล/ และประชาชนในพื้นที่ 0 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 3.ขั้นดำเนินการ 3.1 ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3.2 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และห 0 26,460.00 -
4 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 4. ติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.ขั้นเตรียมการ 1.1เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 1.2 ชี้แจงโครงการและระยะเวลาดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่/อสม./ผู้นำชุมชน/เทศบาล/ และประชาชนในพื้นที่ 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันสารเคมีในการทำงานอุปกรณ์สวมใส่เพื่อป้องกันสารเคมีจากการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในการออกควบคุมและป้องกันโรค     2.2เมื่อได้รับแจ้งรายงานการเกิดโรคในเขตพื้นที่ หลังรับแจ้งรายงานโรค ประสานทีม SRRT ตำบลเพื่อลงควบคุมโรคโดยเร็ว ประสานญาติผู้ป่วยแจ้งการลงพื้นที่พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย เพื่อจัดเตรียมสถานที่พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย
2.3ทีมควบคุมป้องกันโรคออกพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย เพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย โดยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีจากการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย และการสำรวจค่า Hi Ciเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งดำเนินการครอบคลุมเป็นจำนวน 3 ครั้ง/ราย ประเมินและหาสาเหตุการเกิดโรค ติดตามอาการผู้ป่วย(กรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายให้ติดตามการวินิจฉัยต่อว่าเป็นโรคหรือไม่)
3. ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายได้ 2.ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ได้
3.ผู้พ่นละอองฝอยและเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมีและใช้อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี ในการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 11:28 น.