กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไข้เลือดออกภัยชุมชนต้องระวัง
รหัสโครงการ 60L4145-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู
พี่เลี้ยงโครงการ อสม.นางซูลฟาร์ เจะอูเซ็ง) ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารสุขชำนาญการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 1,3 และ 5 ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยพื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม โดยปกติพบว่าส่วนใหญ่โรคไข้เลือดออก จะระบาด 3 ปี เว้น 1 ปี
จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ในทุกกลุ่มอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู ตำบลกาตอง อำเภอยะหา ปี 2559 (ณ. 30 ก.ย.58)มี 1 ราย (32.82 / แสนประชากร) จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหา อยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรูตำบลกาตอง อำเภอยะหาได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนและด้านอื่นๆ จึงได้จัดทำโครงการไข้เลือดออกภัยชุมชนที่ต้องระวัง เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชนและในโรงเรียนและเพื่อให้ประชาชนปลอดจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกได้ 2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มีไม่เกิน50 ราย ต่อแสนประชากร 3. ค่าHI ไม่เกินร้อยละ 10 4. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วย ได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวัง ร้อยละ100

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ โดยการให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์ หอกระจายข่าวโรงเรียน ฯลฯเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ให้รู้จักการป้องกันตนเอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ แก่อสม. ผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้าน สามารถการควบคุมโรคและไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบ 3.จัดหาและทำสื่อให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ไวนิล แผ่นพับ
4.การกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน และโรงเรียนศพด.มัสยิด 5.ทำการสอบสวนโรคผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งทุกรายในพื้นที่ 6.รับข้อมูลจากเครือข่าย ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคโดยเร็วที่สุด (ภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับรายงาน ไม่มีวันหยุดราชการ) 7.รณรงค์ให้สุขศึกษา และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก และประชาชน นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 22:35 น.