กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักลูกน้อย รับวัคซีนตามเกณฑ์
รหัสโครงการ 60L4145 - 13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.บ้านปาแดรู
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กรกฎาคม 2560 - 13 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู
พี่เลี้ยงโครงการ นางซุลฟาร์เจะอูเซ็ง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม ชุมชนและประเทศชาติ การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิการฝากครรภ์การเลี้ยงดูที่ถูกต้อง จะทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพและสุขภาพดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน งานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก 0-5 ปี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันโรควัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ทำให้สุขภาพของคนในประเทศชาตินั้น เจ็บป่วยร่วมกับสูญเสียภาพลักษณ์ และความรุนแรงสูงสุดสามารถทำอันตรายต่อชีวิต ได้ ดังนั้นถ้าเด็กได้รับวัคซีน 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด จะสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้ดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของบุคคลในชาติมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข คนไทยห่างไกลโรคภัย จากการดำเนินงานส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค ที่ผ่านมาของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาแดรู พบว่ามีเด็กจำนวน 330 คน ไม่รวมเด็กที่เคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่พร้อมกับผู้ปกครอง เกิน 6 เดือน และเด็กนอกพื้นที่ เด็กได้รับวัคซีน ครบชุดตามเกณฑ์ 1 ปี ร้อยละ 94.94เด็กรับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 2 ปี ร้อยละ 94.05 เด็กได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 3 ปี ร้อยละ 95.59 และวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 5 ปี ร้อยละ 88.33 ( ข้อมูลจากรายงาน VAC 3.1,3.2) พบว่าเด็กที่ไม่มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ส่วนใหญ่จะมาจากครอบครัวไม่ให้ความสำคัญกับการรับวัคซีนของเด็ก ครอบครัวห่วงลูกหลานแบบผิด คือ กลัวลูกหลานเจ็บเมื่อมาฉีดวัคซีนโดยไม่กลัวการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ครอบครัวมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการรับวัคซีนผู้ปกครองขาดความตระหนักเกี่ยวกับการรับวัคซีน ขาดแรงจูงใจในการมารับวัคซีน และไม่มีความรู้เรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่รับ จึงควรเร่งส่งเสริมป้องกันโรคดังกล่าวร่วมกับโรคอื่นที่ยังไม่มีการระบาดที่สามารถควบคุมได้ด้วยวัคซีนให้อยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้ เพื่อให้การดำเนินงานบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานในเด็ก 0- 5 ปี มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาแดรู จึงจัดทำโครงการ " รักลูกน้อย รับวัคซีนตามเกณฑ์ " ในปี 2560 ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาแดรู มีภูมิคุ้มกันโรค และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดขั้นพื้นฐานที่จะนำสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าเป็นอนาคตของชาติและเพื่อสร้างจิตสำนึกแก่บิดา มารดา และผู้ปกครองให้ตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในบุตรอันเป็นที่รักที่กำลังเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกิดโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน 2. เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ร้อยละ 90 3. เพื่อสร้างจิตสำนึก/ เจตคติที่ดี แก่บิดา มารดาและผู้ปกครองเด็กต่อการรับวัคซีน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา และ อสม. เรื่องอันตรายของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อเพื่อนำไปพูดคุย/ชักชวนคนในชุมชนให้นำบุตรมารับวัคซีน 2.ให้ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการประกาศติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด 3.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ออกติดตามผู้ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด ทุกสัปดาห์ 4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหมู่บ้านร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5ปี ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 5. อาสาสมัครสาธารณสุขติดตามเด็กในพื้นที่รับผิดชอบของตนให้มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 6. แจกเอกสารแผ่นพับเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน แก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี ที่พาบุตรมารับวัคซีน ในคลินิกเด็กดี เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดต่อไป 7. เพิ่มความหลากหลายของบริการสุขภาพในคลินิกเด็กดี โดยการผสมผสานกับงานด้านอื่นๆ เช่น การชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ การตรวจพัฒนาการ การตรวจฟัน /ทาฟลูออไรด์วานิช แจกแปรงสีฟัน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความประทับใจ และอยากพาบุตรมารับวัคซีน ในครั้งต่อไป 8.ปรับปรุงระบบการให้สุขศึกษา โดยผู้ที่ให้บริการ ต้องให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคลในเรื่อง ดังต่อไปนี้ คือ วัคซีนที่ฉีดใช้ป้องกันโรคอะไร จะต้องฉีดกี่เข็ม เข็มนี้เป็นเข็มที่เท่าไรและที่สำคัญคืออาการข้างเคียงของวัคซีนที่ฉีดตลอดจนคำแนะนำในการบรรเทาอาการดังกล่าว เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เตรียมรับมือกับอาการหลังการฉีดวัคซีนของลูกได้กลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5 ปี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0-5ปี
  2. ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด
  3. ผู้ไม่ยินยอมฉีดวัคซีนมีสัดส่วนที่ลดลง
  4. มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 22:57 น.