กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาการดี สุขภาพแข็งแรง โตอย่างมีคุณค่า ปะกาลือสง ปี 64
รหัสโครงการ 64-L3065-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตาดีกา หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสือไขรี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.838324,101.194014place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนในพื้นที่แสวงหา เช่น การมีโทรศัพท์ใช้ การมีรถยนต์ รถเครื่องใช้ การมีเครื่องซักผ้า หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆในครัวเรือน ซึ่งกลายเป็นค่านิยมที่ทุกครัวเรือนต้องมี การจะได้มาในสิ่งดังกล่าวข้างต้นก็จะต้องขยันทำมาหากิน เพื่อที่จะได้มีเงินหรือปัจจัยในการที่จะซื้อตามสิ่งที่ตนเองปราถนา ครอบครัวหลายครัวเรือนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากเดิมสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป สัมพันธภาพในครอบครัว ความอบอุ่น ขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ลืมในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเองและลูก มองข้ามในเรื่องของภัยมืดที่คุกคามสุขภาพโดยเฉพาะลูกๆหรือเยาวชนที่มีอยู่ เพราะเป็นกลุ่มเปราะบาง และเป็นอนาคตของชุมชนต่อไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างเกราะให้เข้มแข็ง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการที่ดีต่อไป ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มีหน้าที่โดยตรงในการอบรม สั่งสอน อบรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ เห็นควรว่าการป้องกันปัญหาข้างต้นโดยเฉพาะปัญหาที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้วกับเด็กในวัยเรียน ต้องได้รับการแก้และขับเคลื่อนในการป้องกันตั้งแต่ที่ยังป็นเด็กอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมได้มีกิจกรรมขับเคลื่อนมาตลอดทุกปีโดยหาผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ และจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมแก้เด็กเยาวชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้รับความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อไปต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

70.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กละเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละ 95 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรง

80.00 95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 3 15,000.00
1 - 31 มี.ค. 64 พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในพื้นที่ 0 1,000.00 1,000.00
1 - 30 เม.ย. 64 พัฒนาศักยภาพของเด็กเยาวชนในพื้นที่ 0 10,520.00 10,520.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับ กิจกรรมทางกาย 0 3,480.00 3,480.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประเมินและตรวจสุขภาพเด็กเยาวชน 0 0.00 -
  1. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่   - มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  2. พัฒนาศักยภาพของเด็กเยาวชนในพื้นที่   - จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “การสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดในสังคมปัจจุบัน สู่อนาคตที่สดใส”
  3. ส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับ กิจกรรมทางกาย   - เด็กเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  4. ประเมินและตรวจสุขภาพเด็กเยาวชน   - เด็กเยาวชนได้รับการเฝ้าสังเกตุอาการทุกคน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
    1. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
    2. เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนแข็งแรงยั่งยืนในอนาคต
    3. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 15:06 น.