กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมการผลิตก๊าซชีวภาพ จากขยะอินทรีย์ ด้วยระบบถังหมักก๊าซชีวภาพ
รหัสโครงการ 64-L8408-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 มกราคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาของขยะอินทรีย์เป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งที่เกิดจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งขยะในครัวเรือนประมาณ 40-50% นั้นจะเป็นขยะที่สามารถเน่าเสียได้ มีผลให้เกิดความเน่าเสียส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีผลให้การจัดการขยะอื่นๆ มีความยุ่งยากมากขึ้นอีก และจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้รัฐบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นงบประมาณในการจัดการขยะในแต่ละปีค่อนข้างสูง    ดังนั้นแนวทางหนึ่งที่มีต้นทุนต่ำ และมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการจัดการขยะอื่นๆ      คือ การจัดการกำจัดในแต่ละครัวเรือน ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เทคโนโลยีการกำจัดของเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้การบำบัดของเสียอินทรีย์ที่ให้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ ก๊าซชีวภาพโดยทั่วไปเป็นก๊าซผสม ประกอบไปด้วยก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ เป็นต้น ซึ่งก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของก๊าซชีวภาพโดยก๊าซมีเทนนี้จะถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน    เช่น การหุงต้มประกอบอาหารภายในครัวเรือนแล้วผลพลอยได้จากการทำก๊าซชีวภาพอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยแนวทางการหมักแบบไร้อากาศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครัวเรือนคือ ได้รับก๊าซชีวภาพ    ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนได้ ช่วยลดต้นทุนการใช้ก๊าซ LPG ที่กำลังมีราคาแก๊สต่อถังสูงขึ้นทุกช่วงเวลา หากชาวบ้านมีแหล่งพลังงานทดแทนแก๊ส LPG และแหล่งพลังงานทดแทนนั้นชาวบ้านสามารถผลิตได้เอง จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น ลดรายจ่ายของครอบครัว ลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และช่วยลดปัญหาของเสียอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของชุมชน ดังนั้น การนำของเสียอินทรีย์มาผลิตก๊าซชีวภาพ จึงสามารถช่วยให้ครัวเรือนลดการใช้พลังงานในรูปแบบเดิมได้มาก ได้แก่ ลดการใช้แก๊สหุงต้ม และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งแก๊สหุงต้มเป็นการสร้างตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการของเสียด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ และเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่องของขยะอินทรีย์ สร้างความมั่นคงในการใช้พลังงานให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
      จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของขยะอินทรีย์ที่เป็นของเสียที่ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนนำมาผลิตก๊าซชีวภาพ จากขยะอินทรีย์ เพื่อใช้ในครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมการผลิตก๊าซชีวภาพ จากขยะอินทรีย์ ด้วยระบบถังหมักก๊าซชีวภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะอินทรีย์ โดยการนำขยะอินทรีย์มาทำก๊าซชีวภาพ

1.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จ  ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะอินทรีย์ได้รับการแก้ไข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 20,000.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 64 ฝึกอบรมการผลิตก๊าซชีวภาพ จากขยะอินทรีย์ ด้วยระบบถังหมักก๊าซชีวภาพ 80 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 10:53 น.