กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย
รหัสโครงการ 64-L3357-02-013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรศักดิ์ พิศพักตร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) (คน)
20.00
2 ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) (คน)
40.00
3 ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) (คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคม อุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ สภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ หลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจโดยการรณรงค์การออกกำลังกายขึ้น จากการสำรวจข้อมูลการออกกำลังกายของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านาโหนด พบว่าประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์นั้นยังอยู่ในระดับน้อย ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด มีความสนใจในกิจกรรมการออกกำลังกายจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับเป้าหมายกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งการออกกำลังกายเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์เสริมสร้างความสามัคคีและที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) (คน)

20.00 16.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) (คน)

40.00 32.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) (คน)

20.00 12.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมเตรียมงาน 0 800.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 0 14,300.00 -
รวม 0 15,100.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี จำนวน 16 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) โดยการติดตามประเมินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6เดือน 2.ประชาชนอายุ 18-64 ปี จำนวน 32 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) โดยการติดตามประเมินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6เดือน 3.ประชาชนอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 12คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) โดยการติดตามประเมินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 00:00 น.