กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินเบื้องต้นสำหรับประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 2 - 6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 43,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภัคณัฐ วีรขจร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ผู้ปฏิบัติการทุกระดับ เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการจัดการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินจนพ้นภาวะฉุกเฉิน ทั้งในภาวะปกติและภัยพิบัติ การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาลเป็นระบบหนึ่ง ที่มีความสำคัญเพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็นชั่วโมงทอง (Golden Hour) ของการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินรอดชีวิตได้มากที่สุดกว่าการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งสาระสำคัญตามแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ที่สำคัญคือ การมีความรู้ความสามารถในเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การประเมินสถานการณ์และสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน การดูแลช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งการช่วยฟื้นคืนชีพ การช่วยคลอดฉุกเฉิน การยกและการเคลื่อนย้าย และการจัดการทางแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย อีกทั้งในปัจจุบัน สภาพเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่า บทบาทของประชาชนร่วมกับบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินและการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในเหตุการณ์เกิดสาธารณภัยหมู่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อม และสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและทันท่วงที
จากผลการดำเนินงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 พบว่า จำนวนอุบัติเหตุยานยนต์ 1, 689 ราย หายใจลำบาก/ติดขัด 1,151 ราย พลัดตกหกล้ม/อุบัติเหตุ/เจ็บปวด 590 ราย ไม่รู้สติ/ไม่ตอบสนอง/หมดสติชั่ววูบ 354 ราย เจ็บแน่นทรวงอก/หัวใจ/มีปัญหาทางด้านหัวใจ 241 ราย หัวใจหยุดเต้น 32 ราย (รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน, 2561) จากความสำคัญดังกล่าว การฝึกอบรมประชาชนในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้มีความรู้ และทราบถึงแนวทางการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมทั้งการฝึกปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติ จนเข้าใจและจำได้ จะนำไปสู่การช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินเบื้องต้นสำหรับประชาชนในพื้นที่ชุมชนวัดยะลาธรรมาราม เขตเทศบาลนครยะลา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
  1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินเพิ่มขึ้น
0.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชน
  1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉิน
0.00
3 3. เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการในระดับมาก (มากกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 43,050.00 0 0.00
22 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมาย ตัวแทนชุมชน ทีมผู้จัดโครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน 0 750.00 -
22 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครยะลา เป้าหมาย ประชาชนชุมชนวัดยะลาธรรมาราม เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 80 คน และทีมผู้จัดโครงการ จำนวน 20 คน รวม 100 คน 0 29,800.00 -
22 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 การจัดนิทรรศการ และประชาสัมพันธ์การพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนภายในเขตชุมชนเขตเมืองเทศบาลนครยะลา กลุ่มเป้าหมาย 1. ชุมชนวัดยะลาธรรมาราม 2. ชุมชนวิฑูรอุทิศ 3. ชุมชนสันติสุข 4. ชุมชนเสรี 5. ชุมชนสามัคคี 0 12,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉิน/บาดเจ็บเพิ่มเติม/เพิ่มโอกาสรอดชีวิต ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่
  2. การพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบาย และเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนเพื่อการปรับเปลี่ยน และพัฒนาการดูแลตนเองและบุคคลใกล้เคียงเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
  3. สร้างเสริมการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ส่งผลให้เกิดเจตคติที่ดีในการดูแลผู้รับบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้รับบริการในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 09:40 น.