กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID –2019)
รหัสโครงการ 64-L3321-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุคลธ์ ทองสม
พี่เลี้ยงโครงการ นายเนติพันธ์ แจ้งจุล
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ หมู่ที่ 12 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 31 ส.ค. 2564 10,840.00
รวมงบประมาณ 10,840.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
90.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
95.00
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19
95.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามมาตรการด้านการป้องกันโรค ครู / ผู้ดูแลเด็ก ต้องมีการทำความสะอาดอาคาร สถานที่ ให้สะอาด ปลอดภัย รวมทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ส่วนตัวเด็กต้องมีการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (ไฮเตอร์)  และนำไปตากแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรค ที่อาจจะเกิดการแพร่เชื้อ เช่น โรคมือเท้าปาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดได้บ่อยใน    ช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อเกิดโรคมือ เท้าปาก ทางศูนย์พัฒนา  เด็กเล็ก ต้องมีการปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และต้องมีการล้างของเล่น ของใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบ จากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ๒๐๑๙ และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ จึงได้จัดทำโครงการ ป้องกัน        และควบคุมโรค ไวรัสโคโรนา (COVID –๑๙) เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้มีสุขภาพที่ดี ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการเล่นปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัส โดยรวมทั้งโรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดขึ้นบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจากสถิติที่ผ่านมามีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ป่วยเป็นโรค มือ เท้า ปาก ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เชื้อโรคจะฟักตัวได้ดีที่สุด การแพร่เชื้อจึงเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลและป้องกันสุขภาพอนามัยด้านความสะอาด  ทางศูนย์ จึงมีมาตรการป้องกันโรคดังกล่าว โดยการ จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรค ไวรัสโคโรนา                (COVID –๑๙)  ทั้งนี้เพื่อป้องกันและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

90.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

95.00 5.00
3 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

95.00 5.00
4 ๑. เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพอนามัยที่ดีเหมาะสมกับวัย

เด็กปฐมวัยทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมกับวัย

0.00
5 เพื่อให้ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – ๑๙) และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – ๑๙) และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 92 10,840.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมการดูแลรักษา สุขภาพอนามัย 44 9,640.00 -
1 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ 48 1,200.00 -

กิจกรรมส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ ๑. งบประมาณ ๑,๒๐๐ บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน ๑ มื้อๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน ๔๘ คน
  เป็นเงิน  ๑,๒๐๐    บาท
๒. ระยะเวลาดำเนินการ  เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ๓. ผลผลิต/ผลลัพธ์  เด็กนักเรียน ครู /ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแล รักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง ได้อย่างถูกวิธี กิจกรรมการดูแลรักษา สุขภาพอนามัย ๑. งบประมาณ  ๙,๖๔๐    บาท รายละเอียด ดังนี้ -  จัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรท (ใช้ฝ่ามือ) จำนวน ๑ เครื่อง เป็นเงิน  ๔,๐๐๐ บาท - จัดซื้อสบู่เหลวล้างมือ ขนาดปริมาณ ๓.๘ ลิตร จำนวน ๕ แกลอน ๆ ละ ๓๕๐ บาท  เป็นเงิน  ๑,๗๕๐  บาท - จัดซื้อกล่องใส่สบู่เหลวล้างมือ จำนวน ๓ กล่อง ๆ ละ ๔๕๐ บาท  เป็นเงิน ๑,๓๕๐  บาท - จัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ (ชนิดไม่ใช้น้ำ) ขนาดปริมาณ ๕๐๐ มิลลิลิตร
(แอลกอฮอล์ ๙๕ %) จำนวน ๑๐ ขวด ๆ ละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท - จัดซื้อน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค (ไฮเตอร์) ขนาดปริมาณ ๒,๕๐๐ มล. จำนวน ๖ แกลอน ๆ ละ  ๙๐ บาท  เป็นเงิน ๕๔๐  บาท ๒. ระยะเวลาดำเนินการ  กุมภาพันธ์ – สิงหาคม ๒๕๖๔ ๓. ผลผลิต/ผลลัพธ์ เด็กนักเรียนรู้จัก ป้องกัน ดูแลในการสร้างเสริมสุขนิสัยอันดี และมีพัฒนาการ ๔ ด้านเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพอนามัยที่ดีเหมาะสมกับวัย 2. ครู / ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร เด็กนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – ๑๙) และโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 09:47 น.