กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3359-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านควนถบ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,100.107place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข การติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี และการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน มาตรการสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ส่วนการควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคที่ได้ผลในขณะนี้ ยังคงเป็นการกำจัดยุงพาหะนำโรค โดยการพ่นยากำจัดยุงตัวแก่
  ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ ซึ่งเป็นแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน จึงเล็งเห็นความสำคัญเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อสร้างความร่วมมือจากประชาชน      ในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกให้ต่อเนื่อง และสามารถปฏิบัติงานควบคุมโรคได้ทันท่วงที กรณีที่เกิดโรคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

0.00
2 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและพัฒนาศักยภาพให้แกนนำในชุมชน

จำนวนหลังคาเรือนที่ได้รับการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดยการสำรวจลูกน้ำยุงลาย

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมชุมชนและบ้านเรือน ซึ่งจะลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ และกำหนดหน้าที่ของผู้ดำเนินโครงการทุกฝ่ายที่รับผิดชอบโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนทางหอกระจายข่าวถึงการดำเนินโครงการ 3. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขั้นดำเนินการ 1. ¬ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน วัด ชุมชน ร่วมวางแผนดำเนินงาน 2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ในที่ประชุมหมู่บ้าน และขอความ  ร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นประจำ 3. อสม. ผู้รับผิดชอบหลังคาเรือน ติดตามโดยสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทุกเดือน
4. ฟื้นฟูความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่อาสาสมัครควบคุมโรคฝ่ายปฏิบัติงานพ่นหมอกควันประจำหมู่บ้าน 5. จัดแบ่งทีมเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ตามเขตกลุ่มบ้าน จำนวน 5 ทีม และประชุมกำหนดกลวิธี       ป้องกันโรคไข้เลือดออกและแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้าน วัด โรงเรียน สถานที่
      สาธารณะในชุมชน 6. พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย โดยอาสาสมัครควบคุมโรคฝ่ายปฏิบัติงานพ่นหมอกควัน กรณีเกิดโรคในพื้นที่ และพ่น หมอกควันในโรงเรียนก่อนโรงเรียนเปิดเทอม     7. สนับสนุนให้ครัวเรือนเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง ปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง หรือใช้สารเคมี
      ทรายอะเบท ในภาชนะน้ำใช้ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับครัวเรือนและโรงเรียน     8. อสม. รวบรวมผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ของบ้านเรือนในเขตรับผิดชอบ พร้อมวิเคราะห์ความเสี่ยงการเกิดโรค       ไข้เลือดออก และรายงานสถานการณ์โรค เพื่อคืนข้อมูลแก่ที่ประชุมหมู่บ้าน
ขั้นประเมินผล
      ติดตามสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 14:30 น.