กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพ อสม.ในการใช้ระบบ อสม.ออนไลน์ ปี ๒๕๖๔ เขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 64-L7487-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 15 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกูนูรไอณี พระพิทักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุธา รุกขพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อสม. ถือได้ว่าเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนโดย อสม. ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเองและเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ โดยอสม.ต้องได้รับความรู้ผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งจากแนวคิดในปัจจุบันที่ส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมองสุขภาพในเชิงสุขภาวะคือสุขภาพมีความเกี่ยวข้องกับทุกปัจจัยการพัฒนาสุขภาพต้องพัฒนาไปพร้อมๆกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น อสม.จึงต้องเพิ่มบทบาทความรับผิดชอบและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถให้มากขึ้น อสม.ออนไลน์ จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ และทักษะเรื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ให้แก่ อสม.เพื่อส่งเสริมให้ อสม. สามารถมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชนให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของชุมชนได้ โดยผลลัพธ์จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปประยุกต์ในการดูแลสุขภาพของประชาชน และช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานระหว่างโรงพยาบาล และอสม. รวมทั้งเกิดการเรียนรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มากขึ้นของ อสม. ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) การพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องตามนโยบาย อสม. 4.0 และสอดคล้องกับแนวคิด Digital For Thais อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีจำนวนทั้งหมด 118 คน แบ่งเป็นชาย 9 คน หญิง 109 คน มีประชากรในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 21,549 คน มีหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ 4,479 หลังคาเรือน คิดเป็นอัตราส่วน 1 คน : 31.32 หลังคาเรือน
ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอสม.ในการใช้ระบบอสม.ออนไลน์ เพื่อให้แกนนำ อสม. มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในงานสาธารณสุขชุมชนเชิงรุก ผ่านแอปพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ เกิดอสม.ต้นแบบ ที่มีการนำแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์บูรณาการในการทำงานด้าน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค สิ่งสำคัญเพื่อดูแลประชาชนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้อสม.มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในงานสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกแก่ อสม. ผ่านแอปพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ 2.เกิดอสม.ต้นแบบ ที่มีการนำแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์บูรณาการในการทำงานด้าน ส่งเสริม สุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อดูแลประชาชนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพของในเขตตำบลเจ๊ะเห

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการใช้ระบบอสม.ออนไลน์ 1. เสริมสร้างการเรียนรู้การใช้ระบบอสม.ออนไลน์ 2. ลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในการใช้ระบบอสม.ออนไลน์ในเขตรับผิดชอบในเขตเทศบาลเมืองตากใบ 3. ถอดบทเรียนการเรียนรู้การใช้ระบบอสม.ออนไลน์

4.ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2564 – ธันวาคม พ.ศ.๒๕64

5.สถานที่ดำเนินการ ๑. ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองตากใบทั้งหมด 9 ชุมชน
(ชุมชนตาบาปอเย๊าะ, ชุมชนตาบาปาเร๊ะ, ชุมชนตาบาฮีเล, ชุมชนสามัคคี, ชุมชนตลาดตากใบ, ชุมชนบางน้อย, ชุมชนฮูมอลานัส, ชุมชนท่าแพรก, ชุมชนภัทรภักดี)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำ อสม.มีความเชื่อมั่น และมั่นใจในการใช้เครื่องมือ อสม.ออนไลน์ และสามารถใช้เครื่องมือ อย่างมีคุณภาพ
    1. แกนนำ อสม.มีแผนในการจัดทำข้อมูลการจัดการชุมชนรูปแบบใหม่
    2. แกนนำ อสม.มีบทบาทและกระตุ้นกระบวนการในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคให้แก่ประชาชน ผ่านระบบ อสม.ออนไลน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 14:50 น.