กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ
รหัสโครงการ 64-L8408-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2564 - 6 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2564
งบประมาณ 82,692.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนึก อาดตันตรา
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติเหตุทางน้ำเกิดขึ้นได้เสมอและเป็นความเสี่ยงหากไม่มีทักษะในการว่ายน้ำหรือทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและรวมถึงทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ การสูญเสียที่ไม่ควรจะเสียลดลงได้หากมีการป้องกัน จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วง 10 ปี (ปี พ.ศ.2553 – 2562) การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี รวม 8,394 คน โดยเฉพาะ ปี 2562 เด็กจมน้ำเสียชีวิต 550 คน ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 20.5 โดยในปี พ.ศ.2561 เสียชีวิต อยู่ที่ 681 คน ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตทุกสาเหตุ สำหรับช่วงเวลาที่เด็กเสียชีวิตจาการจมน้ำมากที่สุดจะเป็นเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอม โดยในปี 2561 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิต 231 คน ร้อยละ 33.9 ของเด็กที่จมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุ 5 – 9 ปี ร้อยละ 37.2 รองลงมาเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 35.1 อย่างไรก็ตาม เด็กจมน้ำช่วงปิดเทอม ปี 2561 ลดลงกว่าปี พ.ศ.2560 ร้อยละ 10.1 (ในช่วงเดียวกันของปี 2560 เสียชีวิต 257 คน) จะเห็นได้ว่าเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดอยู่ระหว่างอายุ 5-9 ปี และจากคลังข้อมูลสุขภาพปี 63 พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2563 มากถึง 692 คน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขยังได้กำหนดแผนงานป้องกันการจมน้ำ ปี 2564 และจังหวัดสตูลยังจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่เสี่ยงมาก (พื้นที่สีแดง) ที่มีการเสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 7.5 ต่อแสนประชากร ในขณะที่เป้าหมายการลดโรคประจำปี 2564 อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เกิน 3 ต่อแสนประชากร จากมูลเหตุดังกล่าวหากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นจะต้องฝึกทักษะให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้การเอาตัวรอดในน้ำ หรือ”ว่ายน้ำเป็นและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีช่วยเหลือมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือถึงแม้ว่าปัจจุบันในพื้นที่ตำบลแป-ระ ยังไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ต้องมีการเฝ้าระวังและฝึกอบรมการเอาตัวรอดของเด็กกลุ่มเสี่ยง อีกทั้งวิทยากรทางด้านนี้ในพื้นที่จังหวัดสตูลก็มีอยู่อย่างจำกัด ตำบลแป-ระเองก็ยังไม่มีวิทยากรที่มีทักษะในด้านนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างทีมวิทยากรไว้รองรับ
จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำในปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อฟื้นฟูทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ (ครู ก.)

1.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ตำบลแป-ระ มีวิทยากรที่มีทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้     ประสบเหตุทางน้ำ ( ครู ก. ) จำนวน  1 ทีม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 ประชุมวางแผนงาน 4.2 เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
4.3 ดำเนินงานตามโครงการ 4.3.1 ฟื้นฟูทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ (ครู ก.) 4.3.2 จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับสอนทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ 4.3.3 ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเอาทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) 4.4 สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เกิดทีมวิทยากรที่มีทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ (ครู ก.) จำนวน   1 ทีม 3) เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเอาตัวรอดในน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 4) เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 10:49 น.