การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมป้องกันดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน ประจำปี 2564
ชื่อโครงการ | การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมป้องกันดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน ประจำปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L8013-2-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลรือเสาะ |
วันที่อนุมัติ | 18 มกราคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2564 - 31 สิงหาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอาดีละห์ อาลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.369,101.508place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดูแลสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประชาชนทุกคน เพราะสุขภาพของคนเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนเรานั้นมีอายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายได้ ในปัจจุบันประชาชนมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพยังน้อยมากทำให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีหรือดูแลอย่างไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูก โรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง การแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ในการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ เช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวด อบสมุนไพร ประคบด้วยสมุนไพร และการดูแลมารดาหลังคลอด เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน และยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีส่งเสริมให้มีการทำหัตถการแพทย์แผนไทยเพื่อการรักษาผู้ป่วยในหน่วยบริการ รวมถึงการฟื้นฟูร่างกายด้วยการแพทย์แผนไทยแกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุในชุมชน ข้อเข่าเสื่อม และการฟื้นฟูสุขภาพ แม่หลังคลอด และการส่งเสริมให้หน่วยบริการประจำและเครือข่ายใช้ยาจากสมุนไพรเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ยาจากสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในบางรายการที่ทดแทนกันได จากนโยบายดังกล่าวทำให้ประชาชนสนใจที่จะหันมาดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสถิติในปี 2562 อำเภอรือเสาะ มีผู้สูงอายุทั้งหมด 3,248 ราย ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 135 ราย โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน จำนวน 1,721 ราย และมีผู้ป่วยอัมพฤต อัมพาต จำนวน 70 ราย โดยในจำนวนดังกล่าวผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการรักษา และติดตามอาการจำนวน 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.7 จากจำนวนทั้งหมด และผู้ป่วยอัมพฤต อัมพาต ที่ได้รับการฟื้นฟู และติดตามอาการ จำนวน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.4 จากจำนวนทั้งหมด โดยปัญหาที่พบคือภาระงานของเจ้าหน้าที่ จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการที่สถานพยาบาลของรัฐเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจ และความสงบในพื้นที่ ทำให้การเข้าถึงบริการของกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ลดน้อยลง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับสุขภาพประชาชนที่สามารถส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมป้องกันดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมความรู้การแพทย์แผนไทยในการดูแลส่งเสริมสุขภาพตนเองและได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริการด้านแพทย์แผนไทย การใช้ยาสมุนไพร และสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าถึงบริการด้านแพทย์แผนไทย และการใช้ยาสมุนไพร |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | 30,000.00 | |
25 ม.ค. 64 | กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เกี่ยวการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และประชาชนทั่วไป จำนวน 50 คน) | 0 | 10,700.00 | - | - | ||
25 ม.ค. 64 | กิจกรรมที่ 2 การให้บริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกโดยการให้บริการ ตรวจวินิจฉัย รักษา ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการฟื้นฟูมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทยอย่างครบวงจร ได้แก่ การให้บริการนวด ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ (ประชาชนทั่วไป จำนวน 100 ค | 0 | 19,300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | 30,000.00 |
๑. จัดทำและขออนุมัติโครงการ ๒. ประสานงาน ชี้แจงโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ๓. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการฯ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังชุมชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง 5. ดำเนินการตามโครงการ กิจกรรมที่ ๑ การให้ความรู้เกี่ยวการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กิจกรรมที่ 2 การให้บริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกโดยการให้บริการ ตรวจวินิจฉัย รักษา ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการฟื้นฟูมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทยอย่างครบวงจร ได้แก่ การให้บริการนวด ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ 6. สรุปการดำเนินงานโครงการ โดยแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้มารับริการในแต่ละกิจกรรม และการประเมินระดับอาการก่อนและหลังการให้การรักษาเมื่อสิ้นสุดโครงการ การประเมินความรู้ในแต่ละกิจกรรม
๑. ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลรือเสาะ ได้รับการบริการด้านแพทย์แผนไทยในส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลมารดาหลังคลอดได้อย่างทั่วถึง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 2. ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลรือเสาะ สามารถนำสมุนไพรที่มีรอบตัวมาใช้ในการดูแลสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 14:53 น.