กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8013-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลรือเสาะ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิรัชยา เพ็ชรพิมล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.369,101.508place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี นับว่าเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยเรื่อยตลอดมา       โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน จะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี เทศบาลตำบลรือเสาะ มีการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเตรียมความพร้อมควบคุมจำกัดยุงลายก่อนจะถึงฤดูการ การระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไปปัจจัยการระบาดที่สำคัญ ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง การเพิ่มจำนวนประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและยุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของประชากรครั้งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกทั้งทางบกและทางอากาศ ทำให้มีการเดินทางมากขึ้น ทั้งภายในและต่างประเทศปัจจัยเหล่านี้ทำให้แพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่งได้แก่การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันหรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกได้อีกด้วย       ดังนั้น การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก วัด ชุมชน โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลรือเสาะและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการตั้งรับไปสู่นโยบายยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของไข้เลือดออก พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ทันท่วงที และเสริมสร้างศักยภาพมาตรการควบคุมโรคให้เข้มแข็งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที

 

0.00
2 ๒. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

๑. ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ การควบคุมโรคไข้เลือดออก

0.00
3 ๓. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และภาชนะเสียงในชุมชน โรงเรียน และวัดที่เป็นแหล่งโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง   2. เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ   3. ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในชุมชนทราบถึงกิจกรรม/โครงการ   ๔. จัดกิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออกตามชุมชนทั้งหมด ๒๑ ชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลรือเสาะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมโรคป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก ๓. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ๔. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 11:54 น.